ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองของนิคโคโล แมคเคียวาลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการ นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบททางปรัชญาการเมืองของนักปรัชญาตะวันตก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการเมืองของนิคโคโล แมคเคียวาลี 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของนิคโคโล แมคเคียวาลี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Ducumentary Research) มีขอบเขตการศึกษาวิจัย จากผลงานหนังสือปรัชญาการเมืองของ แมคเคียวาลี ฉบับแปลภาษาไทย ได้แก่ The Prince (เจ้าผู้ปกครอง) แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์ และ แมคเคียวาลี : เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่, แปลโดย ศิริรัตน์ ณ ระนองเป็นหลัก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการเมืองการปกครองของตะวันตก เป็นแบบอัตตาธิปไตย คณาธิปไตย และประชาธิปไตย สุดแต่นครรัฐหรือสาธารณรัฐจะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตน ในด้านผู้ปกครอง จะเป็นแบบราชา “เจ้าชาย” ผู้นำเผด็จการ หรือ ผู้นำประชาธิปไตย เมื่อพิจารณาบริบทด้านการเมืองการปกครองจะเห็นการแย่งอำนาจความเป็นใหญ่อย่างรุนแรง ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร 2) The Prince ปรัชญาการเมืองของ แมคเคียวาลี เป็นคู่มือการปกครองเกี่ยวกับหลักวิธีการได้อำนาจและรักษาอำนาจ โดยวิเคราะห์ว่า มนุษย์เราตามธรรมชาติ เป็นคนเลว และมีความทะเยอทะยานไม่จบสิ้น แต่มนุษย์เราก็ปลูกฝังให้ดีขึ้นได้ แท้จริงแล้วไม่มีใครดี หรือเลวไปเสียทั้งหมด แม้เขา อาจจะมองคนในแง่ร้าย แต่ก็เต็มไปด้วยความหวังที่แสวงหาสังคมที่ดีกว่าอยู่เสมอ องค์ประกอบของปรัชญาทางการเมืองมีอำนาจ 3 ประการ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ กระบวนการใช้อำนาจนั้น ไม่คำนึงถึงวิธีการใด ๆ แต่จะคำนึงถึงเป้าหมายเป็นหลัก ทั้งนี้ ในการปกครองรัฐนั้น ต้องควบคุมด้วยกฎหมายอย่างจริงจัง มากกว่าที่จะใช้ระบบศีลธรรม และคุณธรรม ซึ่งก็คือการปกครองรัฐแบบฆราวาส 3) ด้านการวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของนิคโคโล แมคเคียวาลี ถือว่าผู้ปกครองที่ปรารถนาจะอยู่ในอำนาจอย่างมั่นคง จึงต้องทำให้ความต้องการเหล่านั้นบรรลุผล เพื่อความสำเร็จและการยินยอมจากพวกเขา เพราะความ มีเหตุผลกับอำนาจมักจะไปด้วยกันไม่ค่อยได้ จึงแนะนำให้ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะแสดง บทบาทของสิงโต หรือ สุนัขจิ้งจอก โดยการใช้กำลัง หรือไหวพริบตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
Article Details
References
สมบัติ จันทรวงศ์. (2547). เจ้าผู้ปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์ คบไฟ.
ไมลส์ อังเกอร์ (Miles Unger). (2557) .เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่, (พิมพ์ครั้งที่ 1), ศิริรัตน์ ณ ระนอง. แปล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.
ศักดิ์ บวร. (2559), เดอะปริ้นซ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สมิต.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2560), ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
NiccolÒ Machiavelli. (1950). The Discourses Translated by Christain E.Detmold. New York : The Modern Library.
_________. (1960). History of Frorence and of the Affairs of Italy. New York : Harper & Row.
_________. The Prince (1965). Translated and Edited by Mark Musa Pres. NewYork : St.Martin.