วารสารปรัชญาอาศรม
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar
<p><strong>Online ISSN</strong> : 2774-0994 <strong>Print ISSN</strong> : 2774-0986</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br />1) เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ ด้านปรัชญา วัฒนธรรม และศาสนา<br />2) เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่ประยุกต์องค์ความรู้จากมิติทางด้านปรัชญา วัฒนธรรม และศาสนา</p> <p><strong>หลักเกณฑ์</strong><br />1) กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับละ 12 บทความ)<br /> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน <br /> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม <br />2) เปิดรับ (1) บทความวิจัย และ (2) บทความวิชาการ เท่านั้น <br />3) ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 หรือ 3 ท่าน <br />4) บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารอื่น <br />5) ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์อย่างเคร่งครัดรวมทั้งจัดรูปแบบ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนด <br />6) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>พิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 หรือ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – blind peer review)</p>
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
th-TH
วารสารปรัชญาอาศรม
2774-0986
-
ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/3899
<p>บทความวิชาการงานวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เนื้อหาสำคัญของคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>หลักพุทธจริยศาสตร์ คือ คําสอนของพระพุทธศาสนา ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ และกฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าสิ่งใดถูก - ผิด พุทธจริยศาสตร์มี 3 ระดับ คือ ระดับต้น ได้แก่ ศีล 5 ระดับกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และระดับสูงได้แก่ มรรคมีองค์ 8 เกณฑ์วินิจฉัยความดี – ชั่วตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ใช้เกณฑ์การตัดสินดังนี้ 1) จากมูลเหตุของการกระทํา 2) จากผลของการกระทํา 3) ใช้มโนธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป้าหมายของพุทธจริยศาสตร์ คือความสุขในชีวิต ทั้งในระดับโลกิยะ และระดับโลกุตระ คือ ปรมัตถสุข</p> <p> มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์เก่าแก่และสำคัญคัมภีร์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏนามผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช 500 ปรากฏตามมธุรัตถปกาสินีฎีกาแห่งมิลินทปัญหา เนื้อหาสำคัญของ มิลินทปัญหาเป็นเรื่องการตอบปัญหาคลายความสงสัยในข้อธรรมต่าง ๆ ของพระนาคเสน ต่อพระเจ้ามิลินท์ </p> <p>วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผู้วิจัยได้พบพุทธจริยศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะแบบเดิม หลักของความเป็นจริงตามธรรมชาติ ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา 2) ลักษณะแบบร่วมสมัย โดยสามารถใช้หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเพื่ออธิบายประเด็น</p>
พระมหาชาญชัย ธมฺมเมธี ก๋องจัน
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
วิโรจน์ วิชัย
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-10-10
2024-10-10
6 2
14
32
-
ระบบการจัดการเรียนโดยวิธีกรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/4529
<p>การวิจัยเรื่อง ระบบการจัดการเรียนโดยวิธีกรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ..สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ 2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความต้องการ 3) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียน 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียน 45 คน และผู้บริหาร-ครู 10 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์<br />ผลการวิจัยพบว่า <br />ระบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การนำเสนอกรณีศึกษา การศึกษาและอภิปราย การสรุปประเด็นสำคัญ และการประเมินผล การประเมินสภาพปัญหาพบว่า ทั้งด้านหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ กิจกรรม และการวัดผลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเป็นที่น่าพึงพอใจ..การพัฒนาระบบได้นำเสนอแผน “SURAPHON PLAN” เพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ สุดท้ายการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าระบบสามารถส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
พระสุรพล อาภรโณ ไกรรอด
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-07
2024-11-07
6 2
62
78
-
พุทธพลังชราสุข : รูปแบบพุทธบูรณาการเสริมสร้างพฤฒพลัง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5259
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวทางของพระพุทธศาสนา 2) เพื่อนำเสนอ “พุทธพลังชราสุข” รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลังสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา โดยใช้การสืบค้นข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์ประเด็นตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า<br />1) การเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับหลักพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก.ได้แก่.การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ใช้หลักอายุสสธรรม และหลักไตรลักษณ์..การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านการมีส่วนร่วม ใช้หลักสังคหวัตถุ และหลักสาราณียธรรม การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านหลักประกันมั่นคงปลอดภัย ใช้หลักสัปปายะ และหลักเบญจศีลเบญจธรรม<br />2) “พุทธพลังชราสุข” รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลังสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยหลักการสร้างความสุขผู้สูงอายุ 6 สุข ได้แก่ สุขกายสังขาร สุขสำราญจิต สุขมิตรสัมพันธ์ชุมชน สุขสร้างกุศลสาธารณะ สุขสัปปายะเหมาะสม และ สุขอุดมศีลธรรม <br />พุทธพลังชราสุข จึงเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเสริมสร้างพฤฒพลัง ความสุข และพัฒนาศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความหมาย</p>
ยุรธร จีนา
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
เทพประวิณ จันทร์แรง
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-18
2024-11-18
6 2
79
99
-
คติความเชื่อและประเพณีอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพ และบทบาทสตรีในสังคมไทย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5159
<p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับสตรีสมัยพระเวทและสมัยพุทธกาล 2) เพื่อศึกษาสถานภาพและบทบาทสตรีในสังคมไทย ตั้งแต่สุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 6) 3) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและประเพณีอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย บทความนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งปฐมและทุติยภูมิ แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ตอบรับวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า <br />สถานภาพและบทบาทสตรีสมัยพระเวทและสมัยพุทธกาลนั้น มีสภาพค่อนข้างดี ไม่ได้ถูกกดทับมากนัก เพราะอย่างน้อย สตรีในสมัยฤคเวทก็ยังมีโอกาสบวงสรวงบูชาไฟได้เท่าเทียมกับสามีและมีสิทธิเท่าเทียมกับสามี สตรียังได้รับการศึกษาพระเวทอีกด้วย ในสมัยพุทธกาล สตรีมีสิทธิเข้าบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาและมีสิทธิเท่าเทียมกันกับบุรุษ ส่วนศาสนาพราหมณ์ที่ยังนับถือคัมภีร์พระเวทอยู่ ก็ยังคงดำเนินชีวิตตามกฎของศาสนา โดยสตรีถูกลดทอนสิทธิลงค่อนข้างมากจากสมัยฤคเวท ขาดการศึกษาและมีสถานภาพต่ำในสังคมและครอบครัว สถานภาพและบทบาทสตรีในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา โดยตรงจากการนับถือศาสนา ดังนั้น สถานภาพและบทบาทของสตรีจึงตามติดมากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเสียเป็นส่วนใหญ่ สตรีจึงถูกกดทับด้วยระบบความเชื่อ เรื่อยมาถึงอยุธยาจึงยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสามี จนกระทั่งมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 6) สตรีจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน สามารถเลือกคู่รักเองได้โดยไม่ต้องถูกบังคับจากบิดามารดา จารีตอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย กล่าวได้ว่า มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทยโดยตรง เพราะจารีตเหล่านี้มาจากความเชื่อทางศาสนา จึงไม่สามารถจะทำให้หลุดได้เปลาะเดียว จะต้องค่อย ๆ ใช้กาลเวลาปอกลอกเปลือกออกทีละชั้น ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน สตรีได้รับสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษในแทบทุกด้าน</p>
ประสิทธิ์ ชาระ
พระครูพัชรกิตติโสภณ วิเชียร ขันผักแว่น
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-20
2024-11-20
6 2
116
133
-
ระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้ กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/3976
<p>การบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้ กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความต้องการระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 3) เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 4) เพื่อประเมินและรับรองระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญา ประกอบไปด้วย 5 ด้าน คือ (1) ด้านการมีวินัย (2) ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (3) ด้านการดำรงตนอย่างเหมาะสม (4) ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพและ (5) ด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2) ผลการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 4.15, S.D. = 0.42 3) ผลการพัฒนาระบบ พบว่า ระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาที่พัฒนาขึ้นใน 5 ด้าน เป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 4) ผลการประเมินและรับรองระบบ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม เป็นไปได้ สามารถนำไปใช้และเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาได้</p>
พระมหาคณาวุฒิ อคฺคปญฺโญ บำรุงทรัพย์
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-12-01
2024-12-01
6 2
150
163
-
สัญญาณกลองเดิก: คุณค่าทางจริยธรรมและการดำรงอยู่บนวิถีชุมชนอีสาน
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5222
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน 2) เพื่อศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน และ 3) เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำรงอยู่ของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือ ชาวตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 36 รูป/คน และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 250 รูป/คน เลือกกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดแบบแนะนำและแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สัญญาณกลองเดิกมีความสำคัญต่อวิธีชุมชนอีสาน คือ สามารถสร้างองค์ความรู้ต่างๆ สร้างคุณธรรมที่ดีงาม สร้างความภาคภูมิใจ สร้างเสถียรภาพและแบบอย่างที่ดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่ดี 2) สัญญาณกลองเดิกสามารถเสริมสร้างคุณค่าทางจริยธรรมภายใน อันได้แก่ จิตสำนึกที่ดี และคุณค่าทางจริยธรรมภายนอก อันได้แก่ พฤติกรรมหรือลักษณะนิสัยที่ดีและสังคมที่ดีให้กับคนในพื้นที่ชุมชนได้ และ 3) สถานกาณ์การดำรงอยู่ของสัญญาณกลองเดิก อันได้แก่ การตีกลองเดิกของวัดในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้างได้ลดลงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากสาเหตุหลักที่สำคัญคือ วัดมีพระสงฆ์จำพรรษารูปเดียว โดยอาจจะชราภาพหรือเกิดอาพาธในบางครั้ง ทำให้ไม่สามารถตีกลองเดิกได้</p>
พรหมพิสิฐ พันธ์จันทร์
พระอำนาจ พุทธอาสน์
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-12-05
2024-12-05
6 2
164
180
-
ระบบการจัดการเรียนแบบพลวัตด้วยพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง: รายกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/4020
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) การศึกษาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตโดยใช้พุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยใช้จังหวัดนครราชสีมาเป็นกรณีศึกษา 2) การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของระบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว 3) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตด้วยพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน และ 4) การใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 24 คนเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม<br />ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตโดยใช้พุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) บริบท (Context) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input) 3) กระบวนการ (Process) 4) ผลลัพธ์ (Output) และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการใน 5 ด้านพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลที่มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง สุดท้ายในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตพบว่า ควรกำหนดเนื้อหาวิชาและขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา 2) การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนในโรงเรียนการกุศล</p>
พระมหานพพร อภิพนฺโธ ศรีวัฒนสกุลชัย
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-12-11
2024-12-11
6 2
181
191
-
ศึกษาการพัฒนาสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/3904
<p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) บทบาทการพัฒนาสังคมของโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า</strong></p> <p>1) การพัฒนาสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทคือกระบวนการสร้างความเจริญงอกงามทางร่างกาย และสติปัญญา เป็นการพัฒนาให้บุคคลมีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่ รู้จักรับผิดชอบ มีศีลธรรมอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข</p> <p>2) บทบาทการพัฒนาสังคมของโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา พบว่าโรงเรียนวัดหนองฝา ได้พัฒนาคนด้านร่างกาย จิตใจโดยมุ่งเน้นเรื่องการปฏิบัติอบรมสมาธิภาวนา และบทบาทในการพัฒนาสังคมทั้ง 6 ด้านซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของปรัชญาเถรวาท</p> <p>3) เมื่อวิเคราะห์การพัฒนาสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน พบว่าโรงเรียนวัดหนองฝา อำเภอโขหลัม จังหวัดน้ำจ๋าง รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา มีบทบาทและหน้าที่เป็นไปตามหลักการแห่งพระธรรมวินัย และมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของสังคมชุมชนเมือง โดยเจ้าอาวาสได้ปฏิบัติหน้าที่บริหารกิจการคณะสงฆ์</p>
นาง ก๋อง
ก๋องทิพย์
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-10-06
2024-10-06
6 2
1
13
-
หลักศูนยตาในฐานะทรรศนะที่จำเป็นต่อการนิพพานตามแนวคิดของนาคารชุน
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/4528
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักการศูนยตาตามทรรศนะของปรัชญาพุทธสำนักมัธยมกะนำโดยนาคารชุน ศูนยตาหมายถึงความว่างอย่างไรก็ดีหลักการดังกล่าวไม่ได้กล่าวว่าทุกสิ่งคือความว่างเปล่า เพียงแต่ว่าไม่มีสวภาวะเท่านั้น การที่สรรพสิ่งไม่มีสวภาวะเนื่องจากสรรพสิ่งปรากฏขึ้นได้จากการอิงอาศัยสิ่งอื่นกันปรากฏขึ้น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นความว่างเปล่าหรือความไม่มีของปรากฏการณ์ หรือกล่าวได้ว่าปรากฏการณ์ภายใต้หลักการศูนยตาดังกล่าวมีอยู่จริงแต่ปราศจากสวภาวะที่เที่ยงแท้ บทความต้องการเสนอว่าการมีทรรศนะว่าทุกปรากฏการณ์อยู่ภายใต้หลักศูนยตานี้เป็นทรรศนะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านจากการเวียนอยู่ในวัฏสงสารไปยังนิพพาน เนื่องจาการถือทรรศนะใด ๆ นอกจากศูนยตานั้นทำให้มนุษย์ยึดติดในปรากฏการณ์ที่ไม่มีความยั่งยืนและแน่นอน เช่นนั้นจึงกล่าวได้ว่านอกจากศูนยตาจะเป็นคำอธิบายที่มัธยมกะใช้อธิบายโลกแล้ว มัธยมกะยังมองว่าการมีทรรศนะแบบศูนยตานั้นนำไปสู่การนิพพานได้ในท้ายที่สุด</p>
จิรายุ สหเวชชภัณฑ์
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-10-13
2024-10-13
6 2
33
47
-
แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีน ในจังหวัดเชียงใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/4266
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีน 2) ศึกษาแนวคิดและพัฒนาการเทศกาลตรุษจีน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีนในจังหวัดเชียงใหม่ <br />เทศกาลตรุษจีนจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อความเป็นสิริมงคล..ความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว รวมทั้งไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูต่อตระกูล มีการให้ทาน การกล่าวคำอวยพร การร่วมประชุม การเคารพผู้ใหญ่ ปฏิบัติตามธรรมเนียมของเทศกาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรมนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์เข้าถึงสัจจะแห่งชีวิตและสันติสุขรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติลดความขัดแย้งขจัดความเห็นแก่ตัว ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 เทศกาลตรุษจีนถือเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวจีนและชาวพุทธเชื้อสายจีน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของปี โดยธรรมเนียมปฏิบัติ เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะกลับมารวมกันที่บ้านเพื่อร่วมกันเฉลิมฉลอง </p>
ธเนศ ชัยชนะกิจการ
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ ดวงจันทร์ บุญเทียม
เทพประวิณ จันทร์แรง
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-01
2024-11-01
6 2
48
61
-
การบริหารแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในยุค“BANI World”
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5244
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการบริหารแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในยุคของโลกที่เปราะบางและผันผวน อันเป็นการบริหารแหล่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้สอนเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และวางแผนในการใช้แหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ส่งเสริมให้สถานศึกษาผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีความสุข และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ จัดสาระการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้และทักษะต่าง ๆอย่างเหมาะสมสอดดล้องกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่าและเกิดผลโดยตรงต่อตัวผู้เรียน ด้วยกระบวนการบริหารคุณภาพ ตามแนวคิดการพัฒนาการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่ประกอบไปด้วย การวางแผน การดำเนินงานตามแผน การตรวจสอบ การพัฒนาปรับปรุง พร้อมทั้งนำมาบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1) ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ 2) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้เหตุผล 3) อัตตัญญุตา รู้จักตน 4) มัตตัญญุา รู้จักประมาณ 5) กาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา 6) ปริสัญญุตารู้จักชุมชน สังคม 7) ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อสภาพจิตใจของบุคลากรสถานศึกษาที่ต้องทำงานในโลกแห่งความสับสนอลหม่านนี้ด้วย ในการพัฒนาองค์กรจึงได้นิยามโลกใบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าเดิมอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน</p>
ธนิดา พูลเจริญ
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-19
2024-11-19
6 2
100
115
-
การสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการทางทักษะวิชาช่างสำหรับพระสงฆ์ไทย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5287
<p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระบบการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์แรงงาน สภาพวัด และสมณเพศในจังหวัดสระแก้ว และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการด้านทักษะวิชาช่างสำหรับพระภิกษุสามเณรในประเทศไทย <br />จากผลการศึกษาระบบการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พบว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะและความรู้สำหรับพระภิกษุสามเณร แต่ยังคงเผชิญปัญหาด้านความหลากหลายของหลักสูตรและการขาดแคลนผู้เรียน อันเนื่องมาจากการบรรพชาอุปสมบทที่ลดลง<br />จากผลการศึกษาสถานการณ์แรงงาน.สภาพวัด.และสมณเพศในจังหวัดสระแก้ว พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ขาดความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้แรงงานในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตหรือพัฒนาอาชีพได้ นอกจากนี้ จำนวนวัดและพระสงฆ์ในพื้นที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดแคลนบุคลากรสำหรับการดูแลศาสนสถานและกิจกรรมทางพุทธศาสนา<br />จากผลการศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการ พบว่า แนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่างโรงเรียนพระปริยัติธรรม วิทยาลัยเทคนิค และชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรด้านทักษะวิชาช่างที่สอดคล้องกับความต้องการของพระภิกษุสามเณรและประชาชนในท้องถิ่น โครงการต้นแบบ เช่น หลักสูตรงานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร 75 ชั่วโมง ที่ประสบความสำเร็จในโรงเรียนปัจจันตเขตวิทยา อำเภอตาพระยา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการบูรณาการความร่วมมือดังกล่าว<br />ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทักษะด้านวิชาช่างสามารถช่วยส่งเสริมความรู้ความสามารถของพระภิกษุสามเณรให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดและชุมชนท้องถิ่น ทั้งยังช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ แนวทางการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นยังสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน</p>
อดิศร สุวรรณตรา
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาอาศรม
2024-11-27
2024-11-27
6 2
134
149