วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการบริโภคอาหารของชุมชนแพทย์วิถีธรรม

Main Article Content

จงกช สุทธิโอสถ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1) เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารตามแนวแพทย์วิถีธรรม3) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการบริโภคอาหารของชุมชนแพทย์วิถีธรรม


การบริโภคอาหารในพระไตรปิฎกใช้หลัก”อาหาร 4”ได้แก่ 1) กวฬิงการาหาร คือ คำข้าว โดยมุ่งการดับสัญญาของกามคุณ 5 ที่ไม่มุ่งเสพของอร่อย ให้เน้นที่ประโยชน์ 2) ผัสสาหาร สื่อผ่านความรู้สึกของปสาทรูปทางกายทางใจ โดยสัมผัสด้วย ตา หู จมูก สิ้น กาย ใจจนเกิดเวทนาสุขทุกข์ หรืออทุกขมสุขเมื่อได้สัมผัส 3) มโนสัญเจตนาหาร เจตนาของตัณหาในความชอบ ชัง ที่เกิดจากการบริโภค ทานในปริมาณพอดีอย่างมีสติ  4) วิญญาณอาหาร พิจารณาการดับให้ไม่เหลือด้วยวิราคะอันเกิดจากการติดยึด จากความอร่อยของอาหารในทุกมื้อของการบริโภค


ส่วนการบริโภคตามแนวแพทย์วิถีธรรม สอนให้รู้จ้กเลือกอาหารไร้สารพิษให้เหมาะกับสภาพร่างกายและสภาพอากาศ เน้นความสมดุลร้อนเย็นตามธาตุร้อนและเย็นของแต่ละคน โดยรู้วิธีปรุงรสไม่จัด เคี้ยวละเอียด ทานอาหารตามลำดับการย่อยง่ายสู่การย่อยยากซึ่งประกอบด้วยหลักโภชนาการของกองอนามัยโลก


เมื่อนำหลักทั้ง 2 มาผสมผสานกันอย่างสมดุลด้วยการทดลอง ปรับเปลี่ยน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างเรียบง่ายประหยัด พึ่งตนใน“การเป็นหมอดูแลตัวเอง” ได้แล้ว วิเคราะห์เห็นความสอดคล้องของหลักการบริโภคอย่างลงตัว มีผลให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจที่ดีงามอย่างผาสุก นำไปแนะนำผู้อื่นต่อ ประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณให้ตนเอง มีผลดีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน.


 


คำสำคัญ: หลักพุทธธรรม  การบริโภคอาหาร ชุมชนแพทย์วิถีธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ใจเพชร กล้าจน. (2562). อาหารปรับสมดุุลแพทย์วิถีธรรม. กรุุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระการพิมพ์.

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์. (26 ตุุลาคม 2555). เหตุ ุผลทางวิทยาศาสตร์ที่่มนุุษย์ไม่ควรจะกินเนื้อสัตว์ !?. สืบค้นเมื่่ อ 22 กันยายน 2566, จาก

https://mgronline.com/daily/detail/9550000131186

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรเดช ธีรปญฺฺโญ (ประเสริฐสังข์) และคณะ. (2560). ศึกษาการบริโภคอาหารเชิงบููรณาการของพระสังฆาธิการ อ.หนองหาร จังหวัดอุุดรธานี. วิทยานิพนธ์

พุุทธศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลััยจุุฬาลงกรณราชวิทยาลััย.

สมเด็จพระพุุทธโฆษาจารย์์ (ป.อ.ปยุุตฺฺโต). (2560). พุุทธธรรมฉบัับปรัับขยาย เล่่ม 3. พิมพ์ครั้้งที่่ 48. กรุุงเทพมหานคร: สำนัักพิมพ์์ผลิธัมม์.