การสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการทางทักษะวิชาช่างสำหรับพระสงฆ์ไทย

Main Article Content

อดิศร สุวรรณตรา

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระบบการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์แรงงาน สภาพวัด และสมณเพศในจังหวัดสระแก้ว และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการด้านทักษะวิชาช่างสำหรับพระภิกษุสามเณรในประเทศไทย
จากผลการศึกษาระบบการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พบว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะและความรู้สำหรับพระภิกษุสามเณร แต่ยังคงเผชิญปัญหาด้านความหลากหลายของหลักสูตรและการขาดแคลนผู้เรียน อันเนื่องมาจากการบรรพชาอุปสมบทที่ลดลง
จากผลการศึกษาสถานการณ์แรงงาน.สภาพวัด.และสมณเพศในจังหวัดสระแก้ว พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ขาดความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้แรงงานในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตหรือพัฒนาอาชีพได้ นอกจากนี้ จำนวนวัดและพระสงฆ์ในพื้นที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดแคลนบุคลากรสำหรับการดูแลศาสนสถานและกิจกรรมทางพุทธศาสนา
จากผลการศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการ พบว่า แนวทางการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่างโรงเรียนพระปริยัติธรรม วิทยาลัยเทคนิค และชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรด้านทักษะวิชาช่างที่สอดคล้องกับความต้องการของพระภิกษุสามเณรและประชาชนในท้องถิ่น โครงการต้นแบบ เช่น หลักสูตรงานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร 75 ชั่วโมง ที่ประสบความสำเร็จในโรงเรียนปัจจันตเขตวิทยา อำเภอตาพระยา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการบูรณาการความร่วมมือดังกล่าว
ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทักษะด้านวิชาช่างสามารถช่วยส่งเสริมความรู้ความสามารถของพระภิกษุสามเณรให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดและชุมชนท้องถิ่น ทั้งยังช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ แนวทางการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นยังสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
สุวรรณตรา อ. . (2024). การสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการทางทักษะวิชาช่างสำหรับพระสงฆ์ไทย. วารสารปรัชญาอาศรม, 6(2), 134–149. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5287
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (1 พฤศจิกายน 2565). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2567, จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/056/T_0012.PDF. 2565.

พระครูนิวิฐธรรมานุศาสน์ (อำนวย ชนาสโภ/สุขแจ่ม). (2564). โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา: สภาพปัจจุบันและปัญหากระบวนการบริหารจัดการ. วารสารบัณฑิตศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 19 (2), 1 - 14.

พระดบัสวิน ปภสฺสโร (แสนสุริวงค์) และคณะ. (2566). โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา : โอกาสทางการศึกษาของเยาวชน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8 (2), 123 - 133.

พระธนภัทร์ วิโรทุศ. (2562). การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโรงเรียนต้นแบบในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มที่ 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2567). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน อาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้ปีพุทธศักราช 2567. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระแก้ว. (21 กันยายน 2567). ข้อมูลวัด/ที่พักสงฆ์จังหวัดสระแก้ว. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2567, จาก https://skw.onab.go.th/th/content/category/index/id/110

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (21 กันยายน 2567). จำนวนวัดในประเทศ รายจังหวัด ปี 2555 - 2564. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2567, สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2567, จากhttps://www.onab.go.th/th/content/category/index/id/805