การบริหารแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในยุค“BANI World”

Main Article Content

ธนิดา พูลเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการบริหารแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7​ ในยุคของโลกที่เปราะบางและผันผวน อันเป็นการบริหารแหล่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้สอนเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และวางแผนในการใช้แหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ส่งเสริมให้สถานศึกษาผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีความสุข และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ จัดสาระการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้และทักษะต่าง ๆอย่างเหมาะสมสอดดล้องกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่าและเกิดผลโดยตรงต่อตัวผู้เรียน ด้วยกระบวนการบริหารคุณภาพ ตามแนวคิดการพัฒนาการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่ประกอบไปด้วย การวางแผน การดำเนินงานตามแผน การตรวจสอบ การพัฒนาปรับปรุง พร้อมทั้งนำมาบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1) ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ 2) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้เหตุผล 3) อัตตัญญุตา รู้จักตน 4) มัตตัญญุา รู้จักประมาณ 5) กาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา 6) ปริสัญญุตารู้จักชุมชน สังคม 7) ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อสภาพจิตใจของบุคลากรสถานศึกษาที่ต้องทำงานในโลกแห่งความสับสนอลหม่านนี้ด้วย ในการพัฒนาองค์กรจึงได้นิยามโลกใบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าเดิมอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลพร ภูมิพลับ. (2564). ความต้องการจำเป็นของการบริหารแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา, วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 3 (2), 107.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545, กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกตุชญา วงษ์เพิก. (2565). สัปปุริสธรรม 7 : การบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. 5 (1), 39 - 50.

จงดี เพชรสังคูณ และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7, วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6 (1), 602 - 617.

จิราภรณ์ ขยัน. (2558). การศึกษาบทบาทการนำแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ข้องผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกช้าประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1, วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (3), 125 - 132.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยตุโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาพงษ์สินธ์โพธิ์คำ และคณะ. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีนคราราม อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning Development. 6 (4), 297 - 314.

สำนักทดสอบการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. 2551. การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วรภาส ประสมสุข และนิพนธ์ กินาวงศ์. (2549 - 2550). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม, วารสารศึกษาศาสตร์. 18 (2), 76.

ศตวรรษ นิลประพัฒน์. (2558). การนำเสนอรูปแบบการบริหารแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อุฎฐายี). (2509). “สัปปุริสธรรม” หนังสืออนุสรณ์ เนื่องในโอกาสงานฌาปนกิจศพ นายชัย. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

หน่วยศึกษานิเทศก์ กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การพัฒนาและการใช้แหล่ง การเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

อนิรุทธิ์ ตุลสุข. (18 มกราคม 2566). BANI World นิยามโลกใบใหม่ใช้พัฒนาผู้นำองค์กรอย่างไร?, สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2567, จาก https://www.coachforgoal.com/blog/topic/bani-world-