คติความเชื่อและประเพณีอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพ และบทบาทสตรีในสังคมไทย

Main Article Content

ประสิทธิ์ ชาระ
พระครูพัชรกิตติโสภณ วิเชียร ขันผักแว่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับสตรีสมัยพระเวทและสมัยพุทธกาล 2) เพื่อศึกษาสถานภาพและบทบาทสตรีในสังคมไทย ตั้งแต่สุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 6) 3) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและประเพณีอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย บทความนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งปฐมและทุติยภูมิ แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ตอบรับวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า
สถานภาพและบทบาทสตรีสมัยพระเวทและสมัยพุทธกาลนั้น มีสภาพค่อนข้างดี ไม่ได้ถูกกดทับมากนัก เพราะอย่างน้อย สตรีในสมัยฤคเวทก็ยังมีโอกาสบวงสรวงบูชาไฟได้เท่าเทียมกับสามีและมีสิทธิเท่าเทียมกับสามี สตรียังได้รับการศึกษาพระเวทอีกด้วย ในสมัยพุทธกาล สตรีมีสิทธิเข้าบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาและมีสิทธิเท่าเทียมกันกับบุรุษ ส่วนศาสนาพราหมณ์ที่ยังนับถือคัมภีร์พระเวทอยู่ ก็ยังคงดำเนินชีวิตตามกฎของศาสนา โดยสตรีถูกลดทอนสิทธิลงค่อนข้างมากจากสมัยฤคเวท ขาดการศึกษาและมีสถานภาพต่ำในสังคมและครอบครัว สถานภาพและบทบาทสตรีในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา โดยตรงจากการนับถือศาสนา ดังนั้น สถานภาพและบทบาทของสตรีจึงตามติดมากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเสียเป็นส่วนใหญ่ สตรีจึงถูกกดทับด้วยระบบความเชื่อ เรื่อยมาถึงอยุธยาจึงยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสามี จนกระทั่งมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 6) สตรีจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน สามารถเลือกคู่รักเองได้โดยไม่ต้องถูกบังคับจากบิดามารดา จารีตอินเดียโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย กล่าวได้ว่า มีอิทธิพลต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทยโดยตรง เพราะจารีตเหล่านี้มาจากความเชื่อทางศาสนา จึงไม่สามารถจะทำให้หลุดได้เปลาะเดียว จะต้องค่อย ๆ ใช้กาลเวลาปอกลอกเปลือกออกทีละชั้น ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน สตรีได้รับสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษในแทบทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปาริชาต นนทกานันท์. (2523). แนวความคิดเกี่ยวกับสตรีในพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรม หิมจันทร์. (2521) บทบาทของสตรีอินเดียในวรรณคดีบาลี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูนิพัทธ์กัลยาณวัฒน์ (คะนอง ลายน้ำทอง). (2550). การศึกษาบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากมล ถาวโร (มั่งคำมี). (2550). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของสตรีในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.