หลักศูนยตาในฐานะทรรศนะที่จำเป็นต่อการนิพพานตามแนวคิดของนาคารชุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักการศูนยตาตามทรรศนะของปรัชญาพุทธสำนักมัธยมกะนำโดยนาคารชุน ศูนยตาหมายถึงความว่างอย่างไรก็ดีหลักการดังกล่าวไม่ได้กล่าวว่าทุกสิ่งคือความว่างเปล่า เพียงแต่ว่าไม่มีสวภาวะเท่านั้น การที่สรรพสิ่งไม่มีสวภาวะเนื่องจากสรรพสิ่งปรากฏขึ้นได้จากการอิงอาศัยสิ่งอื่นกันปรากฏขึ้น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นความว่างเปล่าหรือความไม่มีของปรากฏการณ์ หรือกล่าวได้ว่าปรากฏการณ์ภายใต้หลักการศูนยตาดังกล่าวมีอยู่จริงแต่ปราศจากสวภาวะที่เที่ยงแท้ บทความต้องการเสนอว่าการมีทรรศนะว่าทุกปรากฏการณ์อยู่ภายใต้หลักศูนยตานี้เป็นทรรศนะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านจากการเวียนอยู่ในวัฏสงสารไปยังนิพพาน เนื่องจาการถือทรรศนะใด ๆ นอกจากศูนยตานั้นทำให้มนุษย์ยึดติดในปรากฏการณ์ที่ไม่มีความยั่งยืนและแน่นอน เช่นนั้นจึงกล่าวได้ว่านอกจากศูนยตาจะเป็นคำอธิบายที่มัธยมกะใช้อธิบายโลกแล้ว มัธยมกะยังมองว่าการมีทรรศนะแบบศูนยตานั้นนำไปสู่การนิพพานได้ในท้ายที่สุด
Article Details
References
นาคารชุน. (2565). มูลมัธมกการิกา (โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง). (โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์, แปล). ประจวบคีรีขันธ์ : มูลนิธิพันดารา.
Jan Christoph Westerhoff. (2010). Nāgārjuna. Stanford Encyclopedia of Philosophy. Retrieved 1 March, 2024, form https://plato.stanford.edu/entries/nagarjuna/
Jay L. Garfield. (1995). The fundamental wisdom of the middle way: Nagarjuna’s Mulamadhyamakakarika. Oxford: Oxford University Press.
K. H Potter. (1991). Presuppositions of India’s philosophies. Deli: Motilal Banarsidass Publishe.
Mark Siderits, และ Shoryu Katsura. (2013). Nagarjuna’s middle way: Mulamadhyamakakarika. Newyork : Simon and Schuster.
Siderits, M., & Katsura, S. (2013). Nagarjuna’s middle way: Mulamadhyamakakarika. Newyork : Simon and Schuster.