ระบบการจัดการเรียนแบบพลวัตด้วยพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง: รายกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระมหานพพร อภิพนฺโธ ศรีวัฒนสกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) การศึกษาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตโดยใช้พุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยใช้จังหวัดนครราชสีมาเป็นกรณีศึกษา 2) การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของระบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว 3) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตด้วยพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน และ 4) การใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 24 คนเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตโดยใช้พุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) บริบท (Context) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input) 3) กระบวนการ (Process) 4) ผลลัพธ์ (Output) และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการใน 5 ด้านพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลที่มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง สุดท้ายในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบพลวัตพบว่า ควรกำหนดเนื้อหาวิชาและขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา 2) การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนในโรงเรียนการกุศล

Article Details

How to Cite
อภิพนฺโธ ศรีวัฒนสกุลชัย พ. . (2024). ระบบการจัดการเรียนแบบพลวัตด้วยพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง: รายกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารปรัชญาอาศรม, 6(2), 181–191. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/4020
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐสภาแห่งประเทศไทย. (2552). ราชกิจจานุเบกษา, มาตรา 6. เล่ม 126 ตอนที่ 54 ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

นายวีรยุทธ พลายเล็ก. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะและ กระบวนการและจิตคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.