การจัดบริการสาธารณะกับพฤติกรรมองค์การ

Main Article Content

พระวุฒิชัย มหาสทฺโท เสียงใหญ่
พระครูโชติธรรมบัณฑิต
เทิดศักดิ์ ดวงปันสิงห์

บทคัดย่อ

ภาครัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน การจัดบริการสาธารณะกับพฤติกรรมองค์การ ตามทัศนคติของบุคคลในการร่วมกันทำงานกับองค์การ 3 ข้อ คือ ความพึงพอใจในการทำงาน การมีส่วนร่วมในงาน และความผูกพันต่อองค์การ องค์ประกอบและขอบเขต “ความเป็นสาธารณะ” มี 5 องค์ประกอบ คือ ระดับความแตกต่างระหว่างรัฐ-เอกชน องค์ประกอบของผู้รับบริการ ธรรมชาติของบทบาท ความรับผิดรับชอบสาธารณะ และความเชื่อมั่นสาธารณะ ภาครัฐนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกด้านการแต่งกาย สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง และการพูดจา ควรจัดทำบริการให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและมีความต่อเนื่อง มีหลักความเสมอภาค และหลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของระบบบริการ ผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงานบริการ องค์การบริการ ผลิตภัณฑ์บริการ และสภาพแวดล้อมของการบริการ ผ่านพฤติกรรมระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล และสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การที่มีผลกระทบต่อองค์การ รัฐต้องจัดทำบริการสาธารณะให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน และเพื่อให้มีความเหมาะสมกับ สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้รูปแบบของเครื่องมือและวิธีการที่จะช่วยให้การจัดบริการสาธารณะดำเนินงานได้อย่างสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น 2 กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น. (2562). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น.

จิตตนันท์ ตามสมัคร. (2565). เทคนิคการให้บริการ (Service Mind) สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก http://ctublog.christian.ac.th/blog_stu/

พรจันทร์ มิตรมุสิก. (2559). การให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการเมืองและการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2543). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกบบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : วิญูชน.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ Organizational Behaviors. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้น.

วรเดช จันทรศร. (2544). การพัฒนาต้นแบบการบริการสาธารณะที่เป็นเลิศ : กรณีศึกษาจากต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สหายบล๊อคและการพิมพ์.

วุฒิสาร ตันไชย.(2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

สันต์ชัย รัตนะขวัญ. (มปท.). มาตรฐานกลางในการจัดทำบริการสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก www.kpi.ac.th

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิด และทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

อุทัย หิรัญโต. (2526). สารานุกรมศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารธุรกิจ). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

อำนวย บุญรัตนไมตรี. (2559). แนวคิดการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารการเมืองการปกครอง. 6 (1), 28.

Dan Farrel, (1983). Exit, Voice, Loyalty, and Neglect as Responses to Job Dissatisfaction: A Multidimensional Scaling Study. Academy of Management Journal. 26 (3), 596 - 607.

De Soto, J. (1989). Droit administrative: Theorie generale du service public. Paris: Edition Montchrétien.p.

Folger, R. G. & Cropanzano, R. (1998). Organization justice and human resource management. United States: SAGE Publications, Inc.

Shamsul Haque. (2001). The Diminishing Publicness of Public Service under the Current Mode of Governance. Public Administration Review. 61 (1), 65 - 82.