จิตนิยมตามแนวคิดของพระพุทธศาสนานิกายโยคาจาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดเรื่องจิตนิยมของพระพุทธศาสนานิกายโยคาจาร ผลการศึกษาพบว่า สํานักโยคาจารมีแนวคิดว่า “จิตหรือวิชญาณเท่านั้นเป็นความจริง” เพราะทัศนะที่ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เกิดมาจากจิต จิตเป็นตัวสร้างปรากฏการณ์ทั้ง หลาย ความรู้ความจริง หรือแม้แต่ความหลุดพ้นล้วนเกิดขึ้น เป็นไป และดับลงหรือจบ สิ้นที่กระบวนการทํางานของจิตทั้งนั้น วัตถุ (หรืออารมณ์) ภายนอกมีหรือไม่มีไม่อาจยืนยัน ได้” จิตตธรรม 8 ถือว่าเป็นธรรมพื้นฐานและสําคัญยิ่งของสํานักโยคาจารที่พัฒนาการเป็น วิชญาณ 8 ประกอบด้วย (1) จักขุวิชญาณ จิตทําหน้าที่รู้อารมณ์ทางตา (2) โสตวิชญาณ จิต ทําหน้าที่รู้อารมณ์ทางหู (3) ฆานวิชญาณ จิตทําหน้าที่รู้อารมณ์ทางจมูก (4) ชิวหาวิชญาณ จิตทําหนาที่รู้อารมณ์ทางลิ้น (5) กายวิชญาณ จิตทําหน้าที่รู้อารมณ์ทางกาย (6) มโนวิช ญาณ จิตทําหน้าที่รู้อารมณ์ทางใจ (7) กลัษฎมโนวิชญาณ จิตทําหน้าที่รู้และยึดถืออารมณ์ ภายใน และ (8) อาลยวิชญา จิตทําหน้าที่รู้เก็บก่อปรุง คือเก็บพืชะของสิ่งทั้งปวงไว้ และนํา เอาพีซะที่เก็บไว้มาสร้างสรรค์ สํานักโยคาจารยืนยันว่า ขันธ์ ธาตุทุกอย่างที่ทําให้เกิดวัตถุ และภาวะในโลกนี้ไม่มีอยู่จริง จิตเท่านั้นมีอยู่จริง
Article Details
References
กนกวรรณ กรุณาฤทธิ์โยธิน. (2561), อาลัยวิชญาณตามแนวคิดของพุทธปรัชญาสํานักโย กาจาร ในทัศนะของพระพุทธปรัชญาเถรวาท, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (ฉบับที่พิเศษ), 401-402.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2558). ศัพท์วิเคราะห์, พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2559). พจนานุกรมไทย-บาลี กรุงเทพมหานคร : บจก.ปัญจมิตรการพิมพ์
พระมหาสมจินต์ สมมาปญฺโญ. (2544). พุทธปรัชญาโยคาจาร : ประวัติพัฒนาการ สารัตถ ธรรมและอิทธิพล, พระพุทธศาสนา, กรุงเทพมหานคร : โครงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร (พรรณนา), (2563), ความหลากหลายในการตีความแนวคิดเรื่อง จิตของนิกายโยคาจาร, วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 27 (3), 6-17.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร. (2547). แนวคิดเรื่อง “จิตเท่านั้นมีอยู่ ของพระพุทธศาสนานิกาโยคาจาร. วารสารพุทธศาสน์ศึกษษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 11 (1), 32-35