หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความสุขสําหรับผู้สูงวัย ในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนา แบ่งระดับของความสุขไว้เป็น (1) กามสุข ถือเป็นสุขที่เกิดจาก กิเลสกาม ที่เรียกว่า กามคุณ 5 (2) ฌานสุข ถือเป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการเพ่งอารมณ์ ให้ภาวะจิตแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ (3) นิพพานสุข เป็นความสุขจากการดับกิเลสและ กองทุกข์ ให้ไร้ทุกข์ เป็นความสุขที่สูงสุด เป็นความดับกิเลสและเบญจขันธ์หรือสภาพสูญ สิ้นถาวร และผู้สูงวัยหรือมนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงกามสุขได้อย่างง่าย โดยใช้ควบคู่กับ หลักการของโลกียะสุข เพื่อทําให้ความสุขนั้นเป็นความสุขที่พอดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความสุขสําหรับผู้สูงวัยในพระพุทธศาสนา ได้แก่ (1) ด้านกายภาวนา คือ การดูแลรักษาร่างกายของตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ สามารถทําได้ง่าย เช่น การเดินจงกลม (2) ด้านสีลภาวนา คือ การดํารงตนให้อยู่ในหลักของ ศีล 5 สุจริต ไม่คดโกง และมีระเบียบวินัยตามบรรทัดฐานของสังคม (3) ด้านจิตภาวนา คือ รู้จักปล่อยวางความทุกข์ต่าง ๆ ด้วยการฝึกปฏิบัติสมาธิ และควบคุมจิตใจหรืออารมณ์ไม่ ให้ฟุ้งซ่าน (4) ด้านปัญญาภาวนา คือ การใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ถึงเหตุผลของความทุกข์ และวิธีการขจัดความทุกข์ ด้วยหลักพุทธธรรมในการพัฒนาตนเองด้าน กาย ศีล และจิตใจ
Article Details
References
พระไตรปิฎกภาษาไทย. (2539). ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทย์ วิทเวทย์. (2547). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์
พระมนัสพล วรสทฺโธ (ยังทะเล). (2553). การศึกษาเปรียบเทียบหลักนิรามิสสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับทฤษฎีอสุขนิยมในปรัชญาตะวันตก. วิทยานิพนธ์, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย