ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา

Main Article Content

พระมหาชาญชัย ธมฺมเมธี ก๋องจัน
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
วิโรจน์ วิชัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการงานวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เนื้อหาสำคัญของคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผลการศึกษาพบว่า


หลักพุทธจริยศาสตร์ คือ คําสอนของพระพุทธศาสนา ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ และกฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าสิ่งใดถูก - ผิด พุทธจริยศาสตร์มี 3 ระดับ คือ ระดับต้น ได้แก่ ศีล 5 ระดับกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และระดับสูงได้แก่ มรรคมีองค์ 8  เกณฑ์วินิจฉัยความดี – ชั่วตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ใช้เกณฑ์การตัดสินดังนี้ 1) จากมูลเหตุของการกระทํา 2) จากผลของการกระทํา 3) ใช้มโนธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป้าหมายของพุทธจริยศาสตร์ คือความสุขในชีวิต ทั้งในระดับโลกิยะ และระดับโลกุตระ คือ ปรมัตถสุข


 มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์เก่าแก่และสำคัญคัมภีร์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏนามผู้รจนา  เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช 500  ปรากฏตามมธุรัตถปกาสินีฎีกาแห่งมิลินทปัญหา  เนื้อหาสำคัญของ    มิลินทปัญหาเป็นเรื่องการตอบปัญหาคลายความสงสัยในข้อธรรมต่าง ๆ ของพระนาคเสน ต่อพระเจ้ามิลินท์ 


วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผู้วิจัยได้พบพุทธจริยศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะแบบเดิม หลักของความเป็นจริงตามธรรมชาติ ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา 2) ลักษณะแบบร่วมสมัย โดยสามารถใช้หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเพื่ออธิบายประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺาวฑฺฒโน (กฤษวี). (2545). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปพน กตสาโร (แสงย้อย). (2561) . การวิเคราะห์อภิปรัชญาที่ปรากฏในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา). (2563). เกณฑ์ตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ที่มีต่อการใช้ปัญญาประดิษฐ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชชุ เวชชาชีวะ. (2543). ปัญญาพระนาคเสน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์.

แสวง แสนบุตร. (2556). การอธิบายอริยสัจ 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย

สินชัย วงษ์จํานงค์. (2548). การศึกษาคติภพของคฤหัสถ์ผู้เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.