แนวทางการดูแลสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์

Main Article Content

ศรีจันทร์ ฟูใจ
ทิวา มหาพรหม

บทคัดย่อ

การดูแลสุขภาพคือสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพที่ดีควรเกิดขึ้นทุกขณะเวลา โดยหลักการของการดูแลสุขภาพระหว่างแนวคิดสมาธิกับภูมิปัญญาแบบแพทย์แผนไทยสามารถเกิดเป็นประโยชน์ต่อการดูแล และรักษาสุขภาพของคนได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยสมาธิธรรมมีผลดีต่อบุคคลทุกเพศวัย และสามารถที่จะประยุกต์นำไปใช้ในการนั่ง ยืน เดิน นอน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ระหว่างการทำกิจกรรมหรือการทำงานให้เกิดประสิทธิผล


ภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพแบบไทยมีหลากหลายรูปแบบ และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเยียวยารักษา การฟื้นฟู รวมถึงการดูแลตนเอง การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยเป็นการใช้ภูมิปัญญาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและสามารถสร้างนวัตกรรมการประยุกต์วิธีการรักษาดูแลผู้ป่วยตามยุคสมัยได้อย่างลงตัว


แนวทางการดูแลสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการผสมผสานระหว่างวิธีการดูแลรักษาสุขภาพของแพทย์แผนไทยคือการประยุกต์หลักการปฏิบัติในการดูแล ได้แก่ 1) แนวทางการนวดด้วยตนเอง 2) แนวทางการประคบด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน และ 3) แนวทางการใช้ความเชื่อ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยงสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย. (2562). คู่มือประกอบการรับรองหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). คู่มือดูแลตนเองเพื่อสุขภาพดีมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีร์พิชชา โกสุม. (2563). ผลของโปรแกรมการใช้สมาธิบำบัด SKT ร่วมกับการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารเค็มต่อระดับความดันโลหิต โซเดียมและความเครียดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ประทีป จีนงี่ และคณะ. (2562). การพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 12 (2), 15-29.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ (ประมวน พานิช) และคณะ. (2562). พุทธจริยศาสตร์เพื่อความสุขในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (2), 9 - 10.

พระครูสิริปัญญานุโยค (ปัญญา ภู่มาลา). (2560). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระยงค์ยุทธ เทวธมฺโม (จันทะอ่อน). (2563). การดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วิโรจน์ มุมานะจิตต์ และบุญเชิด หนูอิ่ม. (2559). การฟื้นฟูและสืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทยชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24 (46), 149 - 150.

ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ และคณะ. (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต: แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์.

สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี (2563). ถอดบทเรียนประสบการณ์การใช้สมาธิบำบัด SKT ของบุคลากรสาธารณสุข. กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยเเละการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

Adams, T., Bezner, J., & Steinhardt, M. (1997). The conceptualization and measurement of perceived wellness: integrating balance across and within dimensions. American journal of health promotion: AJHP, 11 (3), 208 - 218.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2014). Health Promotion in Nursing Practice. Pearson Education.

Orem D. E. (1985). A concept of self-care for the rehabilitation client. Rehabilitation nursing: the official journal of the Association of Rehabilitation Nurses, 10 (3), 33 - 36.