ศึกษาเชิงวิเคราะห์การดูแลสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธสำหรับผู้สูงวัย

Main Article Content

อำพันธ์ ดวงคำ
พระเทพปวรเมธี พฺรหฺมรํสี (ประสิทธิ์ อินทร์กรุงเก่า)

บทคัดย่อ

ในการการดูแลสุขภาพจิตใจนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะปกติของ จิตใจมนุษย์จะ “ประภัสสรคือสว่างไสว บริสุทธิ์” แต่เพราะมีกิเลสเข้ามาห่อหุ้มทําให้จิตใจ เศร้าหมอง ไม่สว่างไสว และไม่เข้มแข็ง เวลามีอะไรมากระทบใจเข้าหน่อยก็จะหวั่นไหวไป กับสิ่งนั้น เช่น ทําให้เกิดความโกรธบ้าง หรือบางครั้งก็เกิดความทุกข์เศร้าเสียใจในเรื่องต่างๆจนเกินไปหรือมีความเครียดกับการทํางานบ้างสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น


การดูแลสุขภาพจิตใจให้กลับสู่ภาวะปกติคือบริสุทธิ์ สว่างไสวนั้น ทําได้ด้วยการ สั่งสมบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา ฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งสิ่ง เหล่านี้เป็นกิจวัตรประจําวันของพุทธบริษัททั้ง 4 ที่ต้องทําเป็นประจําอยู่แล้ว ความผาสุก ทางจิตวิญญาณถือเป็นมิติที่สําคัญมากมิติหนึ่งในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นความ รู้สึกส่วนลึกภายในจิตใจของบุคคลที่แสดงถึงภาวะสงบ เป็นสุข มีความเข้มแข็ง ในจิตใจ ยอมรับความจริง มีเป้าหมายในชีวิต มีความหวัง ยอมรับและพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รู้สึก มั่นใจในความสัมพันธ์ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่ตนยึดเหนี่ยว ผู้สูงอายุที่มีความผาสุกทางจิต วิญญาณจะเป็นผู้ที่ใช้สติและจิตสํานึกในการพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ มองเห็นชีวิตตนเองมีคุณค่า และสามารถยอมรับความจริงของสภาพร่างกายที่เกิด ขึ้นในชีวิตด้วยดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระปลัดวีรชนม์ เขมวิโรและคณะ. (2560). “การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.

(1): 78-81.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.255. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

กรมอนามัย. (16 มิถุนายน 2561). กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและเครือข่ายผู้สูงอายุ, สืบค้น เมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th/know/5/16.