การประยุกต์ใช้หลักอาหารสัปปายะสำหรับผู้สูงวัย

Main Article Content

ลำภู เปรมจิตร์
ลิปิกร มาแก้ว
วิโรจน์ วิชัย

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารแนวทางพระพุทธศาสนาของผู้สูงวัย เป็นการบริโภคเพื่อประโยชน์ของ การบริโภคอาหารให้มีความพอดีกับร่างกายในปริมาณที่ถูกจํากัด และ เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่ารสชาติหรือกลิ่นสีที่แต่งอาหารให้ดึงดูดใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนและสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับอาหารสําหรับผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สูงวัยมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระร่างกายเสื่อมลงตามธรรมชาติทั้งทางด้านความสําคัญเรื่องอาหาร ร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา มีความผิดปกติของระบบ ประสาท สัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การบดเคี้ยว จึงมีความจําเป็นที่จะต้องให้ การประยุกต์ใช้หลักอาหารสัปปายะสําหรับผู้สูงวัย เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผล ในด้านโภชนาการต่อร่างกาย ได้แก่ อาหารและการบริโภคของผู้สูงวัยในปัจจุบัน โดยใช้หลัก โภชนสัปปายะ (อาหารสบาย, อาหารสัปปายะ) คืออาหารที่เกื้อกูลต่อสุขภาพ ไม่เป็นพิษต่อ ร่างกาย และรู้จักประมาณในการบริโภค การใช้ปัญญาในการพิจารณาอาหาร ขนาดและ ปริมาณ พอเหมาะแก่วัยอาหารสัปปายะ บริโภคอาหารสําหรับผู้สูงวัยที่พอเหมาะ เป็นอาหารถูกกับ ร่างกาย เกื้อกูลต่อร่างกาย และช่วยสนับสนุนส่งเสริมต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงวัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกณิกา จันชะกิจ. (2559). อาหารและโภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ, วาสาร Mahidol R2R

e-Joumal. 3 (2): 3.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 27.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพุทธโฆสาจารย์, (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค, แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒ าจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนา เพรส จํากัด.

สมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2560). รูปแบบการจัดสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ : กรณี ศึกษาเทศบาลตําบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎี บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.