ศึกษาบทบาทการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกา ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของจิตตคหบดีและพระนางสามาวดี โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า
การส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเด่นๆ มี 5 ด้าน คือ (1) ด้านศึกษาธรรม (2) ด้านการปฏิบัติธรรม (3) ด้านการเผยแผ่ธรรม (4) ด้านการปกป้องพระพุทธศาสนา และ (5) ด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของจิตตคหบดีและพระนางสามาวดี ทั้งสองท่านมีการศึกษาธรรมครั้งแรกจากการรับฟังธรรมจากพระอรหันต์และหญิงรับใช้ซึ่งฟังมาจากพระพุทธเจ้าแล้วนำมาถ่ายทอด ด้านการปฏิบัติธรรม ทั้งสองท่านปฏิบัติตนตามหลักอุบาสกธรรมและอุบาสิกาที่ดีและปฏิบัติตนตามที่มีศีลสมบรูณ์สมาธิและปัญญาตามมรรคผลที่ได้รับจากการฟังธรรมจนบรรลุอนาคามีและโสดาบัน ด้านการเผยแผ่ธรรมจิตตคหบดีได้เผยแผ่ธรรมโดยวิธีการสนทนาธรรมตอบปัญหาธรรมและโต้วาทะกับทั้งคนในและนอกศาสนาส่วนพระนางสามาวดีอาศัยอำนาจแห่งเมตตาจิตโน้มน้าวให้พระสวามีและบริวารหันมาศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ด้านปกป้องพระพุทธศาสนาทั้งสองท่านปฏิบัติตามคำสอนด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าจนดวงตาเห็นธรรม การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมและเผยแผ่หลักธรรมคำสอนเป็นการปกป้องพระพุทธศาสนามิให้ผู้ใดมาบิดเบือนหลักธรรม ด้านอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทั้งสองท่านมีบทบาทด้านการถวายทานทั้งภัตตาหารเป็นประจำ
Article Details
References
จำเนียร ทรงฤกษ์. (2552). ชีวประวัติพุทธอุบาสก (สมัยพุทธกาล) เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพ่อนวล แม่พัว ทรงฤกษ์.
ดวงกมล ทองคณารักษ์. (2547). “บทบาทและความสำคัญของอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2553). กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (14 กรกฎาคม 2556) สถานการณ์พุทธบริษัทในสังคมไทย: ศรัทธาวิปริต หรือวิกฤติศรัทธา. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จาก http://www.ps.mcu.ac.th/?p=1510
รังษี สุทนต์. (2544). “บทบาทของอนาถบิณฑิกอุบาสกที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วนิดา ฉายาสูตบุตร. (2550). “การศึกษาวิเคราะห์ บทบาทของพระนางสามาวดีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.