การประยุกต์ใช้ท่าฤาษีดัดตนเพื่อการเจริญสติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัย เรื่อง “การประยุกต์ใช้ท่าฤาษีดัดตนเพื่อการเจริญสติ” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดของท่าฤาษีดัดตน (2) เพื่อศึกษาการเจริญสติในทางพระพุทธศาสนา และ (3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้ท่าฤาษีดัดตนเพื่อการเจริญสติ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า การฝึกท่าฤาษีดัดตน เป็นการฝึกกายและฝึกจิตใจให้ประสานกัน เพื่อดูแลรักษาร่างกาย ป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย ทำให้เกิดพลังชีวิต มีอายุที่ยืนยาว เป็นท่าปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย โดยลักษณะการบริหารใช้การนั่ง นอน และยืน ร่วมกับการกด คลึง ดึง ดัด เหยียด คู้ และการกำหนดลมหายใจเข้าออกไปพร้อมๆ กับการบริหาร โดยหายใจให้ผ่อนลมหายใจออกอย่างช้าๆ ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองของร่างกายทำงานได้ดี อวัยวะภายในทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ส่วนด้านจิตใจใช้หลักสติปัฏฐาน 4 คือ กายานุปัสนาภาวนา เวทนานุปัสสนาภาวนา จิตตานุปัสสนาภาวนา และธัมมานุปัสสนาภาวนา เมื่อกายกับใจสงบก็ทำให้อกุศลกรรมดับ กุศลกรรมก็เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางด้านกาย จิต สังคม และปัญญา
การฝึกลมหายใจโดยการประยุกต์ใช้ท่าฤาษีดัดตนเพื่อการเจริญสติ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาสุขภาวะองค์รวมตามแนวพระพุทธศาสนา การฝึกท่าฤาษีดัดตนสามารถพัฒนาการเจริญสติสู่ระดับกายานุปัสสนาภาวนาและในระดับเวทนานุปัสสนาภาวนา ยังไม่สามารถพัฒนาการเจริญสติสู่ระดับจิตตานุปัสสนาภาวนาและในระดับธัมมานุปัสสนาภาวนา
Article Details
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ฤาษีดัดตน. กรุงเทพมหานคร: โพสต์พับลิชชิ่ง.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย. (2556). ฤๅษีดัดตน ขยับกาย สบายชีวี ด้วยกายบริหารแบบไทย ฤาษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระทรัพย์ชู มหาวีโร (บุญพิฬา). (2554). “การศึกษาวิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวันตามแนวทางของ ติช นัท ฮันห์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์จำกัด.
พระวงศ์แก้ว วราโภ (เกษร). (2555). “การศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐานของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) กับพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. สติ. (2528). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จักรานุกุลการพิมพ์.
วริยา ชินวรรโณ และคณะ. (2543). สมาธิในพระไตรปิฎก : วิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรัญญา โชติรัตน์. (2561). “การวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 จากงานวรรณกรรมเรื่อง ศิลปะการปฏิบัติสมาธิ เขียนโดย มาติเยอ ริการ์”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน.