การศึกษาวิเคราะห์ความรักในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

Main Article Content

ชาญธาดา มั่นประเสริฐ
พูนชัย ปันธิยะ
พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาความรักทางพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความรักทางพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า ความรักในทางพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย (1) เสนหา เป็นความรักที่เกิดจากตัณหาเป็นการสนองความต้องการของตนเอง (2) เปมะ เป็นความรักที่เป็นความพอใจเกี่ยวเนื่องกัน เช่น พี่น้อง สามีภรรยา (3) เมตตา เป็นความปรารถนาดี อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความไม่ปองร้ายกันและกัน (4) เมตตาอัปปมัญญา เป็นความรักที่ไม่มีขอบเขต และไม่มีประมาณ ไม่จำกัด มีจิตแผ่ไปทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยความรักแบบเมตตาและเมตตาอัปปมัญญาเป็นความรักที่สามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตได้


ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือการเรียนรู้ การฝึกฝนควบคุม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพของมนุษย์ ความรักสามารถนำมาใช้เป็นแรงขับเคลื่อน หรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายด้าน ทั้งการใช้ความรักพัฒนาตนเอง การใช้ความรักพัฒนาครอบครัว การใช้ความรักเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ของคู่ครองหรือคนรัก การใช้ความรักเพื่อการพัฒนาการทำงาน ตลอดจนสามารถใช้ความรักเพื่อการพัฒนาสังคมประเทศชาติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปราณี รามสูตร และจำรัส ด้วงสุวรรณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: ธนะการพิมพ์.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). สิทธิมนุษยชนสร้างสันติสุขหรือสลายสังคม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิกจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). วาเลนไทม์สู่วาเลนธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระมหาปรีชา ปริญาณจารี (หลักโคตร). (2545). “ความรักในพุทธปรัชญา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์ วันจันทร์. (2548). ฉันเข้าใจสรรพสิ่งเพราะฉันรัก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กัลปพฤกษ์.

สารานุกรมเสรี. ทัชมาฮาล. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ทัชมาฮาล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2562)

สุมน อมรวิวัฒน์. (2535). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.