พุทธศิลปกรรมบำบัด : การสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อบูชาในประเพณีล้านนาของชุมชนบ้านร่ำเปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พูนชัย ปันธิยะ
อำนาจ ขัดวิชัย
พระนิติพัฒน์ อุชุจาโร
ฉลองเดช คูมานุมาศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1) เพื่อสำรวจพุทธศิลปกรรมล้านนาในชุมชนที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อการบูชาในงานประเพณีของชุมชนบ้านร่ำเปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประมวลและคัดเลือกงานพุทธศิลป์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานอนุรักษ์และเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของชุมชน 3) เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมเชิงอนุรักษ์ และเชิงนวัตกรรมของชุมชนบ้านร่ำเปิง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อนำไปสู่งานพุทธศิลปกรรมล้านนาในชุมชน ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อการบูชาในงานประเพณีของชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมเชิงอนุรักษ์


ผลการศึกษาวิจัย พบว่า


1) การสำรวจงานพุทธศิลปกรรมนั้นมิใช่แต่เป็นเพียงสิ่งของ วัสดุ หรือสิ่งปลูกสร้าง แต่งานพุทธศิลปกรรมยังเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในหลายด้าน ที่ผู้คนในพื้นถิ่นให้ความสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ตามหลักพระพุทธศาสนา 2) คุณค่าด้านจิตวิญญาณ 3) คุณค่าทางสุนทรียภาพ 4) คุณค่าทางเศรษฐกิจและการเมือง


2) ชุมชนมีผลงานที่มีความโดดเด่นมีความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นล้านนาสูง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนบ้านร่ำเปิงให้ โดยใช้การอนุรักษ์นำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมของชุมชนเพื่อการบูชาในประเพณีล้านนา


3) การจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมเชิงอนุรักษ์ และเชิงนวัตกรรมของชุมชนบ้านร่ำเปิง เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์กับชุมชน มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตามสื่อต่างๆ รวมไปถึงการสร้างผลงานนวัตกรรมการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมเชิงอนุรักษ์ และเชิงนวัตกรรมของชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดในการสร้างสินค้า หรือทางการตลาด ที่ใช้สอยได้จริงในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงวุฒิ ทับทอง และณัฐพล แสนเมืองมา. (30 สิงหาคม 2566). กิจกรรมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1กันยายน 2566, จาก https://www.chiangmainews.co.th/social/3060218/.

ธฤษิดา แก้วภราดัย. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพละ 5 กับอิทธิบาท 4.นวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 2 (1), 31 - 38.

พงศกร เล็งดี. (2556) การใช้ศิลปะบำบัดกับผู้ป่วยทางจิตเวช. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 6 (1), 31 - 46.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2546). คุณค่าศิลปกรรมกับเส้นทางชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีทรรศน์ มูลนิธิวิถีทรรศน์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2545). การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีการทำบุญด้วยการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2562). ลวดลายพื้นถิ่นงานพุทธศิลป์ล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.