หลักพุทธธรรมกับความเชื่อในการบริจาคทานของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย

Main Article Content

รณฤทธิ์ มณีสงฆ์
อรชร มณีสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. หลักพุทธธรรมกับความเชื่อในการบริจาคทานของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย 2. สาเหตุที่พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยมีความเชื่อในการบริจาคทาน และผลของการบริจาคทานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ 3. เสนอแนวความคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้บริจาคทาน ผู้รับบริจาคทาน รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลการบริจาคทาน


            ตามหลักพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้ทาน ที่สร้างบารมี และส่งผลดีแก่พุทธศาสนิกชน พุทธธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่าทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจากกิเลส ด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌาน และบรรลุปรินิพพานในพรหมโลก ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก พุทธศาสนิกชนจึงมีความเชื่อในการบริจาคทาน แต่ควรบริจาคทานตามสมควร ไม่เกินตัว พิจารณาความน่าเชื่อถือขององค์กรที่รับบริจาค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่หลงไปกับอานิสงส์จากการบริจาค บางครั้งผู้รับทานจะมีการบริหารเงินบริจาคไม่โปร่งใส นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือนำเงินวัดไปใช้ส่วนตัว การฉ้อฉล ทุจริต ใช้ให้เป็นประโยชน์ส่วนตัว หรือกับผู้อื่น ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาแก่พระพุทธศาสนาได้ วิกฤตศรัทธานี้อาจทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลง และทำให้พุทธบริษัททั้งสี่สลายไปในที่สุด


ผู้บริจาค และผู้รับบริจาคควรมีอิทธิบาท 4 ในการบริจาค และรับบริจาค ควรมีหน่วยงาน และองค์กรเข้ามากำกับตรวจสอบ ติดตามการรับบริจาค และนำผลของการบริจาคไปใช้ให้เข้มงวดมากกว่าที่เป็นอยู่เพื่อความโปร่งใสใน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2530). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 19. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

ณดา จันทร์สม. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ การบริหารเงินของวัดในประเทศไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 107.

ธนดล ภูธนะศิริ. (2552). ความประทับใจ ความศรัทธา และการบริจาค. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 3 (2), 152.

ไทยรัฐออนไลน์ (17 ตุลาคม 2561). ย้อนรอย 'อดีตเณรคำ' จากพระสงฆ์ครองเงิน 200 ล้าน สู่นักโทษคดีฉ้อโกง!. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จากhttps://www.thairath.co.th/news/society/1351342

ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ. (31 มีนาคม 2564). ย้อนรอยคดี ‘โกงผ่านวัด’ ปิดช่องโหว่ทุจริต. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก www.tdri.or.th: http://tdri.or.th>anti-corruption-temple-frauds

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (3 พฤศจิกายน 2561). ให้ทานอย่างไร-จึงจะได้ทำบุญอย่างสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ไตรลักษณ์บุค. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก www.trilakbook.com

ประสงค์ รายณสุข. (2559). ประเพณีการเทศน์มหาชาต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน, 1 (2), 137.

ปราณีต ก้องสมุทร. (21 เมษายน 2545). ทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://8400.org/tipitaka/book/bookpn01.html, 145 - 147.

พระมหาหรรษา ธมมหาโส. (25 พฤศจิกายน 2556). สถานการณ์พุทธบริษัทในสังคมไทย : ศรัทธาวิปริต หรือวิกฤตศรัทธา. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จากhttps://www.mcu.ac.th/article/detail/460

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิญญู กินะเสน และบุณชณา วิวิธขร. (2559). วิเคราะห์หลักการปกครองในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วง. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 2 (1), 65.

สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. (2534). ทศบารมีในพุทธเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 134-137.

สยามรัฐ. (6 พฤษภาคม 2566). รวบอดีตพระอาจารย์ชื่อดัง ยักยอกเงินวัด มูลค่ากว่า 180 ล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://siamrath.co.th/n/444618

เอกชัย จั่นทอง. (25 พฤษจิกายน 2559). รายงานพิเศษ กรณีวัดพระธรรมกาย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก www.posttoday.com/analysis/report/415416, 3.

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ. (29 สิงหาคม 2559). แกะรอย ตู้บริจาคเงินวัด จากศรัทธาสู่ผลประโยชน์ที่ไม่ต้องตรวจสอบ?. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จากhttps://www.tcijthai.com/news/2016/29/scoop/6380