วิเคราะห์พุทธปรัชญาการศึกษาในการจัดการศึกษาของโรงเรียนปากะจอง บ้านแงน จังหวัดเชียงตุง

Main Article Content

ฐิติทรัพย์ พระแก้ว
นาง ก๋อง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการวิเคราะห์พุทธปรัชญาการศึกษาในการจัดการศึกษาของโรงเรียนปากะจอง บ้านแงน จังหวัดเชียงตุง ประเทศเมียนมา พบว่า โรงเรียนแห่งนี้มีพระภิกษุและสามเณร 60 รูป ครู 10 รูป และนักเรียน 178 คน การจัดการศึกษาได้รับการรับรองจากรัฐบาลเมียนมา จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีองค์ประกอบของการศึกษาในการจัดการ ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร ใช้ระบบการศึกษาแบบ KG-5-4-3 เน้นวิชาการ 2) ด้านสถานที่ ใช้พื้นที่วัด ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและห่างไกลจากแหล่งชุมชน 3) ด้านผู้สอน ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ สอนทุกรายวิชา 4) ด้านผู้เรียน มีเด็กและเยาวชนหลากหลายชาติพันธุ์ที่มีอายุแตกต่างกันเข้ามาเรียนร่วมกัน 5) ด้านการจัดการเรียนการสอน เน้นทางด้านพุทธิศึกษาและจริยศึกษา ไม่เน้นด้านหัตถศึกษาและพลศึกษา 6) ด้านการวัดและประเมินผล เน้นการประเมินตนเองโดยเฉพาะด้านความรู้ ความจำและการท่องจำบทเรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

นิธิ เอียวศรีวงค์. ( 25 พฤษภาคม 2560). พม่าเมื่อชำเลืองมอง (ตอน 4). สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2566.จาก http://www. matichonweekly.com.column/

article_37630

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ (เชี่ยว ชิตินฺทฺริโย). (2556). พุทธปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2525). ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พุทธทาสภิกขุ. (2528). เป้าหมายของชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์.

__________. (2529). ธรรมสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และคณะ.(2552).ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วชิรญาณวโรรส, กรมพระยา, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า.(2527). นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมตรี). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราขวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2495). ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.

สมนึก พวงพวา. (2531). ปรัชญาการศึกษาตามความต้องการของอาจารย์วิทยาลัยครูในสหวิทยาลัยทวารวดีและสหวิทยาลัยทักษิณ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาการ.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2528). การสอนโดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตรีรณสาร.

____________. (2565). มองอนาคตการศึกษาไทย วิถีการเรียนรู้สู่ปัญญา. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2566. จาก https://www.roong-aroon.ac.th/?p=11854.