ผลประโยชน์ทางการเมืองกับจริยธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์2ประการ คือ (1)เพื่อศึกษาแนวคิดที่เห็นว่าจริยธรรมเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง (2) เพื่อสร้างความโปร่งใสทางการเมืองก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในสังคมการปกครองในรูปแบบใดก็ตามที่มีอยู่ในโลกนี้ ย่อมมีกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กลุ่มผลประโยชน์มีหลายประเภท บางกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ บางกลุ่มเป็นกลุ่มเล็กมีบทบาทมีอำนาจในการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองในด้านแนวคิดและด้านการบริหารงาน ผู้นำต้องมีทัศนคติที่ดี มีจริยธรรมและนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ
พอจะสรุปได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม ควรมีในจิตวิญญาณของผู้นำรวมในยุคปัจจุบันที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยยึดเสียงของประชาชนเป็นเกณฑ์ในการบริหารงานภาครัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไทยไว้ ในมาตรา 51-63 คุณธรรมของคนไทยมาประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารบ้านเมืองนั้นจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องมือในการปกครองของคนไทยในสมัยปัจจุบัน และผู้นำควรสนองงานของพระมหากษัตริย์ในการบริหารบ้านเมืองต่อไป
Article Details
References
ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ. (9 มกราคม 2563). กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลกับพรรคการเมือง
ในสังคมประชาธิปไตย. หนังสือพิมพ์แนวหน้า, น.2
เพลินตา ตันรังสรรค์. (2552). กฎหมายภายใต้หลัก Conflict of Interest. จุลนิติสถาบันนิติบัญญัติ.
(5), 53-78.
ผาสุก พงศ์ไพจิตร. (2 พฤศจิกายน 2548). การทับซ้อนของผลประโยชน์ กับความเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ. หนังสือพิมพ์มติชน, น.6
พระปลัดเกษฎา มหาปญฺโญ (ผาทอง). (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมไทย
ภายใต้กระบวนทัศน์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมทรรศน์. 16 (2), 263-264.
สัญญา เคณาภูมิ. (2558). วิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารวไลย
อลงกรณ์. 5 (2), 195-196.