หลักมนุษยธรรมกับการศึกษาของเด็กเคลื่อนย้าย

Main Article Content

สันติพงษ์ มูลฟอง
พัชยานี ศรีนวล

บทคัดย่อ

เมื่อทุกคนเข้าใจว่าการศึกษามีไว้เพื่อปวงชน (Education for all) โดยเฉพาะเด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การมือง ล้วนแต่จะต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน  โดยเฉพาะเด็ก คือบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติทั้งด้านเชื้อชาติ  ศาสนาและสัญชาติ  จะต้องได้รับอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน 


สำหรับเด็กเคลื่อนย้าย (children on the move) ที่ได้เดินทางจากประเทศอื่นมาอาศัยอยู่อีกประเทศหนึ่ง  มีทั้งที่เดินทางมาตามลำพัง  และเดินทางมากับผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่จะพบว่าเด็กจะไม่มีเอกสารการทะเบียนราษฎร  และการเดินทางเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต  ประเทศไทยมีพรมแดนกับเพื่อนบ้าน 4 ประเทศมีความยาวหลายพันกิโลเมตร  จึงทำให้เด็กได้เข้ามาตามเส้นทางธรรมชาติ  เด็กเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศ กลายเป็นคนไร้รัฐ  ไร้สัญชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทย


แต่สำหรับสิทธิด้านการศึกษาตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ที่รัฐบาลไทยเป็นประเทศสมาชิก  ได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ได้รับรองสิทธิด้านการศึกษาให้สำหรับเด็กทุกคน ส่วนการบริหารจัดการทางด้านเอกสารการแสดงตัวตนและจัดทำประวัติข้อมูลเด็กนักเรียน  โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดเป็นกลุ่มที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร G (General)  ผ่านระบบ G-Code เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 แล้วจะดำเนินการพิจารณาจัดทำทะเบียนประวัติกับสำนักบริหารการทะเบียนราษฎร  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำหรับเด็กที่มีคุณสมบัติตามกฏหมายการทะเบียนราษฏรที่จะจัดทำประวัตินั้น จะต้องมีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งในประเทศไทย ไม่ได้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านหรือกำหนดเลขประจำตัวไว้ และไม่มีเอกสารการทะเบียนราษฎรของประเทศอื่น 


ผลการตรวจสอบคุณสมบัติปรากฏเด็กบางคนไม่สามารถจัดทำทะเบียนประวัติได้ เพราะไม่ได้มีภูมิลำเนาเป็นหลักแห่งในประเทศไทย โดยมีการกลับไปต่างประเทศช่วงหยุดเรียน และเด็กบางคนเกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้แจ้งเกิด เด็กบางคนเป็นผู้ติดตามบิดามารดาผู้เป็นแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น  ทำให้เด็กตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ 


ปัจจุบันแม้เด็กจะมีสถานที่อยู่อาศัยในประเทศไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ จะจัดกลุ่มเป็นบุคคลประเภทใด เป็นผู้เข้าเมืองในลักษณะใด เด็กมีความเสี่ยงจากการเดินทางที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กบางคนเดินทางมาตามลำพัง  อาจจะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จึงจะต้องสร้างระบบการเคลื่อนย้ายเด็ก และจะต้องรับรองความปลอดภัยได้อย่างไร นอกจากนั้นพบว่าเด็กยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพราะเด็กเคลื่อนย้าย  จะจัดการศึกษาที่เหมาะได้อย่างไร  ซึ่งจะต้องสร้างความร่วมมือทั้งประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง  จากกรณีศึกษาเด็กนักเรียน จำนวน 126 คน ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จังหวัดอ่างทอง  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยกขึ้นมาเป็น กรณีศึกษา เพราะยังอยู่ในความสนใจของสังคม  ได้มีมุมมอง หลากหลายมิติ แล้วจะได้นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอให้กับรัฐบาลต่อไป ทั้งด้านการเดินทางข้ามแดนมาอยู่อาศัยในฐานะเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา แต่ถูกดำเนินคดีข้อกล่าวว่าว่าเป็นผู้เข้ามาในราชอาณษจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายคนเข้าเมืองแล้วมีการดำเนินการส่งกลับพร้อมกับกล่าวโทษอยู่ระหว่างการดำเนินคดีกับผู้นำพาและให้ที่พักพิง ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญมากที่จะนำไปสู่การสร้างกลไกการบริหารจัดการของรัฐบาล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2562). กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุุษย์.ประเทศไทยกับ 30 ปีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก. กรุุงเทพมหานคร

: เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงมหาดไทย. (2562). เรื่่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานะบุุคคลของนักเรียนที่่ มีเลขประจำตัวขึ้้นต้นด้วยอักษร G. หนังสือสั่งการที่่

มท.0309.1/ว 5784 ลงวันที่่ 30 กันยายน 2562.

เนตรชนก โพธารามิก. (2561). พรหมวิหารกับคุณค่าในสังคมไทย. วารสารศิลปะการจัดการ. 2 (1), 6.

องค์การยููนิเซฟ ประเทศไทย. (2563). สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่่นฐานในประเทศไทย. กรุุงเทพมหานคร:

องค์การยููนิเซฟประเทศไทย

_________. (2565). สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายในประเทศไทย. กรุุงเทพมหานคร: องค์การยููนิเซฟ ประเทศไทย

_________. (31 พฤษภาคม 2566). งานสััมมนาระดับชาติว่าด้วยการยุุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็กในประเทศไทย. สืบค้นเมื่่อ 31 กัันยายน 2566, จาก https://

www.unhcr.org/th/44037-the-royal-thai-government-unhcr-andunicef-join-forces-to-accelerate-progress-in-ending-childhood-

statelessness.html

องค์กรแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. (2563). คู่มือการซักซ้อมความเข้าใจเกี่่ยวกับแนวทางการจััดการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่่ไม่มีหลักฐาน