รูปแบบการจัดการขยะตามหลัก 5Rs โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระกฤษฎา โชติโก มณี
ชนกันต์ ปัญญาวัธนสกุล
สหัทยา วิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาชุมชนต้นแบบการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มกับผู้ประกอบการ และผู้นำชุมชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า


1) การศึกษาชุมชนต้นแบบการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พบว่า ชุมชนต้นแบบมีความคล้ายคลึงกันในด้านวิธีคิดในการจัดการโดยใช้กระบวนการกระตุ้นพฤติกรรม สร้างแรงบันดาลใจ สร้างจิตสำนึก และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ได้แก่ การลดปริมาณขยะ การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ การนำวัสดุที่ชำรุดกลับมาซ่อมแซม การนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก


2) กระบวนการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย ขั้นตอนการสำรวจบริบทชุมชนเพื่อทราบและเข้าใจในสภาพปัญหา การจัดเวทีระดมความคิดเห็น นำเสนอชุมชนต้นแบบออกแบบการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะโดยการอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ ขั้นตอนการระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา
การวางแผนก่อนลงมือปฏิบัติ และการประเมินผล


3) รูปแบบการจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การจัดการขยะโดยการสร้างจิตสำนึกในระดับครัวเรือน การจัดการขยะโดยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ และการจัดการขยะโดยสร้างความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2555). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

_____________. (2559). แผนแม่บทการบริหารการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทแอคทีฟพริ้นท์จำกัด.

ดวงสมร ฟักสังข์. (2555). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอย.ของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธีรพงษ์ เพิ่ม. (2563). ท้องถิ่นกับแผนปฏิบัติการร่วมของชุมชนกับเทศบาลเพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยที่จะนำไปสู่หลัก 5 R’s กรณีตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์. 9 (2), 1.

นิดาพัฒ สุทธิพงษ์. (2560). การลดปริมาณขยะมูลฝอยด้วยกลยุทธ์ 5R ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ข่าวพลังงาน. (14 มกราคม 2563). ชี้แก้ปัญหาขยะเชียงใหม่ ต้องเริ่มกระบวนการคัดแยกอย่างจริงจัง. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://www.energynewscenter.com