พุทธจริยศาสตร์ในการปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสนองงานกิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน

Main Article Content

พระครูกิตติภัทรานุยุต (จักรินทร์ มาชวน)

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสนองงานกิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน ของพระนิสิต และเพื่อพัฒนาหาแนวทางหาแนวทางการดำเนินงานในการปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสนองงานกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้าน ในการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัย
2 ส่วน คือ การศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม มีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า


          พุทธจริยศาสตร์ในการปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสนองงานกิจการคณะสงฆ์ 6 ด้านของพระนิสิต ในด้านของการปกครอง ควรยึดหลัก อปริหานิยธรร7 ด้านการศาสนศึกษา ควรยึดหลัก พละ 5 ด้านการเผยแผ่ ควรยึดหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านการสาธารณูปการ ควรยึดหลักทศธรรม ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรยึดหลักสัปปุริสธรรม 7 ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ ควรยึดหลัก บารมีธรรม


          แนวทางการดำเนินงานในการปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสนองงานกิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน พบว่า (1) ด้านการปกครอง พระนิสิตต้องให้ความสำคัญและกระทำร่วมกับเจ้าอาวาสหรือเจ้าสำนัก แต่การที่จะให้สงฆ์ทุกรูปยอมรับซึ่งกันและกันเพื่อความสามัคคีก็จะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงกันทุกๆ (2) ด้านการศาสนศึกษา เป็นหลักธรรมยืดเหนี่ยวจิตใจของผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งหนทางแห่งความสำเร็จเพราะการทำงานในแต่ละด้าน ย่อมจะเกิดปัญหาตามมาบ้าง การทำงานจึงต้องอาศัยหลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางการทำงานประพฤติและปฏิบัติย่อมส่งผลให้มีความราบรื่นผ่านพ้นอุปสรรคได้ (3) ด้านการเผยแผ่ พระนิสิตเมื่อได้ศึกษาในภาคทฤษฏีแล้วย่อมมีประสบการณ์ด้านการทำงาน การเผยแผ่ความรู้ในด้านต่างๆ ที่พระนิสิตมีความรู้และสามารถทำได้ ตามความรู้ความสามารถที่พระนิสิตมีอยู่ให้กับคนในสังคมได้ (4) ด้านการสาธารณูปการ การให้ทานเป็นการการสละทรัพย์สิ่งของ และการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ การสนับสนุนส่งเสริมด้านทุนทรัพย์ อุปกรณ์การเรียน  หรือจัดโครงการอบรมให้ความรู้การดำเนินชีวิตและหลักธรรมคำสอน (6) ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ พระนิสิตมีความช่วยเหลือผู้อื่นในด้านต่าง ๆ มีความเมตตา กรุณา และทานเป็นพิเศษ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

แก้ว ชิดตะขบ. (4 ต.ค. 2554). ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : 7 หลักธรรม บ่งชี้ความเป็นคนดีที่่แท้จริง. สืบค้นเมื่่อ 10 มีนาคม 2566, จาก

https://mgronline.com/dhamma/detail/9540000125558.

ชนาธิป ศรีโท และคณะ (2563). การบููรณาการหลักสุุริสธรรม 7 ประการเพื่่อขัับเคลื่่อนความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย.

วารสาร มจร อุุบลปริทรรศน์. 5 (1), 345 - 352.

พระครููวินัยธรอำนาจ พลปญฺฺโญ และคณะ (2560). พุุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาการศึกษา เรื่่องความจริง ความรู้ ความดี.

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.5 (1), 336.

พระมหานพดล. (ม.ป.ป.). สังคหวั ัตถุุ 4 และแนวทางการปฏิบัติในการทำงาน. สืบค้นเมื่่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.castool.com.

มหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_________________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบัับมหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลััย. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุุฬาลงกรณราชวิทยาลััย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้้งที่่ 3 (แก้้ไขเพิ่่มเติม).

กรุุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วศิน อินทสระ. (2549). พุุทธจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่่2. กรุุงเทพมหานคร: ธรรมดา

วิทยา ศักยาภินันท์. (2552). อุุดมการณ์พระโพธิสัตว์ : พุุทธจริยศาสตร์เพื่่อมหาชน. วารสารมนุุษยศาสตร์์. 16 (1), 1 - 14.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก, (2559). ทศบารมีทศพิธราชธรรม. กรุุงเทพมหานคร: มหามกุุฏราชวิทยาลัย

_________. (2545). พจนานุุกรมพุุทธศาสตร์์ ฉบัับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้้งที่่11. กรุุงเทพมหานคร: สหธรรมิก

Della Thompson, Edited, (1995). The Concise Oxford Dictionary ofCurent English, Ninth Edition. Oxford: Clarendon Press.

Siksasamuccaya of Santidev. (1960). Vaidya. Buddhist Sanskrit Texts. no 11. Darbhanga: The Mithila Institute.