การลดอันตรายจากการดื่มสุราในผู้ติดสุรา:มุมมองพุทธจริยศาสตร์

Main Article Content

รักชนก จินดาคำ
ชฎาพร สุใจยา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์มุมมองพุทธจริยศาสตร์ ที่มีต่อแนวทางการลดอันตรายจากการดื่มสุราในผู้ติดสุรา เป็นการแสดงผลของการศึกษาวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของการบำบัดดูแลผู้ติดสุรา ในมิติของการลดอันตรายจากการดื่มสุราที่ไม่ได้กำหนดเพียงการเลิกดื่มสุราเพียงมิติเดียว จากข้อกำหนดในเรื่องศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งให้ความสำคัญกับคุณค่าของชีวิตอยู่ที่ความดีที่ได้กระทำ ในสังคมชาวพุทธ“การดื่มสุรานั้นผิดศีล”ตามหลักการทางพุทธศาสนา ในขณะที่มีผู้ติดสุรามากขึ้น หากมีการหยุดดื่มทันที หรือเรียกว่า “หักดิบ” อาจเกิดภาวะอาการถอนพิษสุรา ได้ในขณะนั้น อีกทั้งภาวะของการดื่มสุราของแต่ละบุคคล มีความซับซ้อนของสาเหตุ ของการติดสุรา ที่ทำให้การบำบัดรักษา ไม่สามารถทำให้ ผู้ติดสุราเลิกดื่มสุราได้ และรูปแบบการบำบัดรักษาไม่ควรมีเพียงรูปแบบเดียว นอกจากนี้ความตั้งใจเลิกดื่มสุราแต่ทำไม่สำเร็จ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ติดสุราไม่พยายามที่จะตั้งเป้าหมายในการเลิกดื่มสุรา จากปัจจัยดังกล่าว การลดอันตรายจากการดื่มสุราจึงเป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการสร้างทางเลือกในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ติดสุราเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาดูแลผู้ติดสุรา มุมมองทางพุทธจริยศาสตร์ ที่จะวิเคราะห์ให้เห็นหนทางและกระบวนการ ช่วยให้การลดอันตรายจากการดื่มสุรา สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งกับผู้ติดสุรา ได้มั่นใจในแนวทางมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้ คนในชุมชน ได้เข้าใจ ลดการตีตราเปลี่ยนเป็นแรงสนับสนุนจากคนในชุมชน สังคมร่วมด้วย


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์. (2559 – 2561). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของประเทศไทยและของโลก.

โศภินสิริ ยุทธวิสุทธิ และคณะ. (2559). การปรับพฤติกรรมการดื่มสุราในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(2), 160-168.

จินตวีร์พร แว่นแก้ว. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดสุรา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9 (3), 10-19.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2561). แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดฟื้นฟูสภาพ ผู้มีปัญหาการดื่มสุรา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จินตวีร์พร แว่นแก้ว. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดสุรา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9 (3), 10-19.

วรพล หนูนุ่น. (2556). การลดอันตราย (Harm reduction) และแนวทางการลดอุปสงค์ (Demand reduction) ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(3), 1-16.

จิตรลดา อารีย์สันติชัย และอุษณีย์ พึ่งปาน. (19 มีนาคม 2562). ประเมินผลการดำเนินงานการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://cads.in.th/cads/media /upload/1566876944-58-B.

แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับสหวิชาชีพ. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด แห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รายงานผลการดำเนินงาน. โครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุรา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. (2565). สมาคมฮักชุมชน.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด แห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ (2558). แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับสหวิชาชีพ. ปทุมธานี. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรอำนาจ พลปปญโญ และคณะ.(15 กันยายน 2559). พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาการศึกษา เรื่องความจริง ความรู้ ความดี. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566. จากfile:///C:/Users/User/Downloads/mcuojs,+Journal+manager.pdf.