พุทธปรัชญาว่าด้วยความไม่เที่ยงในผู้ป่วยพาร์กินสัน

Main Article Content

วราพร ราชเนตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาโรคพาร์กินสัน (2) ศึกษาหลักอนิจจตาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ (3) วิเคราะห์พุทธปรัชญาว่าด้วยความไม่เที่ยงในผู้ป่วยพาร์กินสัน พบว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว สมดุลทางร่างกาย และอาการผิดปกติทางจิตทางระบบประสาท อาการของโรคแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยเริ่มจากร่างกายสั่นเกร็ง กระทั่งถึงเคลื่อนไหวตนเองไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้


หลักอนิจจตา เป็นความไม่เที่ยงของจิตและความไม่เที่ยงทางรูป คือการเปลี่ยนแปลงอันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกสรรพสิ่ง อนิจจตา มีนิยามว่า เมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นแล้วต้องแปรเปลี่ยนสภาพและดับสิ้นไปตามเหตุปัจจัย ระเบียบ กฎเกณฑ์


พุทธปรัชญาว่าด้วยความไม่เที่ยงในผู้ป่วยพาร์กินสัน คือความไม่เที่ยงของโรคพาร์กินสันในลักษณะของหลักอนิจจตา เป็นความเปลี่ยนแปลงทางกายใจ และสรรพสิ่งในลักษณะของรูป จิต โดยมีปัจจัยให้เกิด ตั้งอยู่ ดับไป ไม่คงอยู่ถาวร ดังนั้น โรคพาร์กินสัน สามารถเกิดได้กับทุกคน และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะต้องเผชิญกับอาการของโรคที่ไม่มีความแน่นอน เกิดขึ้นได้ทุกขณะ ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ซึ่งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เป็นไปตามหลักความจริงของความไม่เที่ยงแห่งชีวิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฉวีวรรณ แสงสว่าง. (2560). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยายบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลดา ดิษรัชกิจ. (2554). ประสบการณ์การรมีชีวิต อยู่กับโรคพาร์กินสันของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: วารสารพยาบาลตำรวจ.

บำรุงราษฎรอินเตอร์เนชั่นแนล. (15 กรกฎาคม 2559). สาเหตุของโรคพาร์กินสันกับความสัมพันธ์ของเซลล์สอมง. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2565, จาก https://

www.bumrungrad.com/th/conditions/parkinson-disease

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (4 มกราคม 2548). นิยาม 5. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม2565, จาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=223

พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที. (2540). อนิจจตาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี ประยุทธ์ ปยุตฺโต. (2527). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รุ่งโรจน์ พิทยศิริ. (2554). คู่มือพาร์กินสัน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ.

____________และคณะ. (2550). โรคพาร์กินสันรักษาได้. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติโรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.

สุจิตน์ บริหารวนเขตต์. (2536). ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขปและภาคผนวก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

Copleston, F. (1962). A HISTORY OF PHILOSOPHY. NEW YORK: IMAGE BOOKS.

Dickson, D. W. (2012). Parkinson’s disease and Parkinsonism: Neuropathology. Cold Spring Harbor Perspective in Medicine, 2 (8), 27.