รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์ผู้พิการตามหลักพุทธจริยศาสตร์

Main Article Content

พระครูอุเทนปัญญารังษี (วงศ์สุวรรณ์)
สุพัตรา ปวนไฝ

บทคัดย่อ

จริยศาสตร์ คือหลักการของศีลธรรม อันเป็นความสำนึกถึงมาตรการความประพฤติ เป็นการศึกษาถึงเรื่องหน้าที่ ความดีสูงสุด อุดมการณ์สูงสุดของชีวิตมนุษย์ตามขอบเขตแห่งเสรีภาพ เป็นสิทธิซึ่งเป็นอำนาจที่บุคคลมีเพื่อเรียกร้อง หรือเป็นกฎเกณฑ์ในทางสังคมที่คนจะต้องปฏิบัติเพื่อความดีงามและความสงบสันติในสังคม


มนุษย์ทุกคนแม้กระทั่งผู้พิการ มีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตในทุกด้านที่เท่าเทียมกัน ควรได้รับโอกาสและสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมทุกระบบตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม และด้านจิตใจ ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์ผู้พิการ ในสมมุติฐาน คุณค่าของผู้พิการ จริยธรรมการพัฒนา และแนวคิดทฤษฎีโดยการมองเห็นถึงความสำคัญของพระสงฆ์ผู้พิการ


จริยศาสตร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ คือการสนับสนุนส่งเสริมขีดศักยภาพของพระสงฆ์ผู้พิการและผู้พิการให้มีความเท่าเทียมกัน ไม่ดูถูกเหยียดหยาม รังเกียจหรือลดคุณค่าของผู้พิการ และให้สำนึกอยู่เสมอว่า หากเปรียบเทียบเป็นตนเองที่พิการบ้าง จะรู้สึกหรือเป็นอย่างไร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ. (2519). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ชมขวัญ มาปาเดิด. (2561). เสรีภาพในปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ตร์: กรณีศึกษาของสื่อสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทพพร มงธานี. การศึกษาความหมายและคุณค่าชีวิตของคนพิการในพระพุทธศาสนากรณีความเข้าใจของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2247?locale-attribute=th

ประภัสสร วัฒนา. (2560). แนวความคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow) และแนวความคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) ที่ปรากฎผ่านนวนิยายเรื่อง “วันหนึ่งในชีวิตของอีวาน เดนิโซวิช”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พชร สุขสุเมฆ. (2552). การอนุวัติการของประเทศไทยจากการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิผู้พิการ ค.ศ. 2006. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ (ประมวน พานิช) และคณะ. (2562). พุทธจริยศาสตร์เพื่อความสุขในสังคม. วารสาร บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (2), 5.

พระครูสุนทรชัยวัฒน์ (ทวี สุชีโว-ตัวประโคน). (2555). การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทศเทพ ทสธมฺโม (วณิชาติ) และคณะ. (2562). จริยศาสตร์ของค้านท์: การทำหน้าที่ระหว่างบุพการีและกตัญญูกตเวที. วารสาร วิชาการธรรมทรรศน์. 19 (3), 236.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระศรีคัมภีรญาณ. (2559). จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ และคณะ. (2546). การแก้ไขกฎหมายที่กีดกันผู้พิการในการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม:ศึกษากรณีกฎหมายและกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิผู้พิการในการประกอบอาชีพ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สาวิตรี รัตนชูโชติ. (2552). การเข้าถึงสิทธิของผู้พิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ. 2550. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ. (2549). แนวทางการปฏิบัติความเสมอภาคทางนิติบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำอนุภาคเอเชีย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). การสำรวจความพิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มสถิติสังคม สำนักงานสถิติเศรษฐกิจสังคมและประชามติสำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำเนียง ยอดคีรี. (2560). จริยศาสตร์ จริยธรรม และคุณธรรม ตามแนวความคิดของนักปรัชญา. วารสาร ปรัชญาปริทรรศน์. 22 (2), 39.

bbc. ชีวิตน่าอัศจรรย์ของ “สตีเฟน ฮอว์คิง” อัจฉริยะผู้ไขความลับแห่งจักรวาล. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/features-43396461

Jean-Paul Sartre: Translated by Hazel E. Barnes. (1997). Being and Nothingness. London: Methuen & Co. Ltd.

Lawforasean. อาเซียนเพิ่มสิทธิผู้พิการ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/Content/View?Id=267&Type=1

UNESCO. (1978). Encyclopedia of the Social Science. New York: The Macmillan Company.