พุทธจริยศาสตร์การเผยแผ่หลักธรรมในยุควิถีใหม่

Main Article Content

พระครูโสภณปริยัติ (ชรินทร์ แก้วคำแสน)
กฤษฎา ใจแก้วทิ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงไว้ซึ่งหลักการของ คุณธรรม จริยธรรม ทั้งคำสอนสั่งที่ดีงามและมีผลอย่างมากต่อการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย โดยหลักของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่ (1) พระสงฆ์ผู้มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอน ควรมีกิริยาวาจาแนะนำหลักธรรม ด้วยคุณสมบัติที่ครบถ้วนบริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ และมีสติปัญญารู้แจ้งถึงวิธีแก้ไขปัญหา (2) สารหรือหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่ จะต้องมีความชัดเจนเหมาะแก่ยุคสมัยและตัวบุคคล (3) สื่อหรือเครื่องมืออันเป็นตัวกลางในการเผยแผ่หลักธรรมเช่นสื่อออนไลน์ จะมีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย เก็บข้อมูลหรือหลักธรรมไว้ทบทวนนำไปปฏิบัติได้ง่าย (4) ผู้รับสารหรือพุทธศาสนิกชนทุกเพศวัยที่มีความพร้อม หมายถึงว่า จะต้องมีความพร้อมในการที่จะซึมซับเอาหลักธรรมความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และจะต้องเข้าใจพื้นฐานของหลักธรรมนั้น ๆ อย่างไม่มีข้อสงสัย มิฉะนั้นอาจเกิดเป็นปัญหาต่อการทำความเข้าใจ การตีความ หรือการเข้าถึงแก่นแท้ของหลักธรรมนั้น ๆ ได้


ยุควิถีใหม่ จึงไม่มีผลกระทบต่อการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่ว่า พุทธศาสนิกชนไทยส่วนใหม่นิยมใช้เครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นปกตินิสัยอยู่แล้ว เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จึงช่วยส่งเสริมให้การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้เป็นไปได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงพุทธศาสนิกชนได้ทุกกลุ่ม ดังนั้น การปรับตัวของผู้เผยแผ่หลักธรรมและการประยุกต์ใช้หลักธรรม จึงมีความสำคัญต่อความรู้ความเข้าใจของพุทธศาสนิกชน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Servaes, Jan. (2003). Approaches to Development; Studies on Communication for Development. Paris : UNESCO.

Thich Nhat Hanh (2553). ศิลปะแห่งอำนาจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. (จิตร์ ตัณฑเสถียร และสังฆหมู่บ้านพลัมประเทศไทย, แปล). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง.

เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์. (2560). พุทธจริยศาสตร์กับสเต็มเซลล์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 124.

เทพพร มังธานี. (2544). จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตามแนวพุทธจริยศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 19 (1), 10.

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2548). จับตาดู รู้ให้เท่าทันสื่อ และสังคมออนไลน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บาร์ตส์ โรล็องด์ (2558). มายาคติ Mythologies. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ 165

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ (ประมวน พานิช) และคณะ. (2562). พุทธจริยศาสตร์เพื่อความสุขในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (2), 11 - 12.

พระครูสมุห์วรวิทย์ ผาสุโก. (2559). “พระสงฆ์กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนวัดสามชุกฝั่งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร.4 (ฉบับพิเศษ), 270 - 283.

พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล). (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวัฑฺฒโน. (2564). วิถีของพระสงฆ์ ในการปรับตัวยุค NEW NORMAL. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 10 (3), 192 - 193.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรีพยัคฆ์ กงพาน. (2562). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักเผยแผ่ที่สอดคล้องกับสังคมไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงค์ใส) (2564). เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องอภิมนุษย์ของนิทเช่กับพุทธปรัชญา. เชียงใหม่: บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พระศรีพัชโรดม (ลักษณะ กิตฺติญาโณ) และคณะ. (2560). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์.13 (2), 340.

พระสมุห์อดิเรก อาทิจฺจพโล (โลกะนัง). (2561). พุทธจริยศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้กับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาลี ไพรสน. (2563). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าในบริบทพหุวัฒนธรรมอินเดีย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (5), 84.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตสถาน. (2554). พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตสถาน.

วอลเตอร์ ไอแซคสัน (2556). ไอน์สไตน์ ชีวประวัติ และ จักรวาล (ฉบับสมบูรณ์). [Einstein : His Life and Universe]. (บัญชา ธนบุญสมบัติ และคณะ, แปล). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์.