ศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ และกระบวนการในการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดจริยศาสตร์ตะวันตกและพุทธจริยศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดภาคเหนือ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง มีแนวคิดในการทำงานแก้ไขปัญหาชุมชนโดยใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมาวิเคราะห์ และออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหา 2) ใช้แนวคิดทางพุทธศาสนาเป็นหลัก เป็นการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้าน กาย วาจา และใจ เป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับจิตใจคนในชุมชนทั้งทางกายและทางใจ และการพัฒนาชุมชน 3) ผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดจากแนวคิดความมีคุณค่าภายนอก ในกลุ่มทฤษฎีจริยศาสตร์ที่เน้นพิจารณาผลการกระทำ ประกอบด้วย แนวคิดหลักการสร้างผลลัพธ์อัตนิยม ทฤษฎีนี้พิจารณาความถูกผิดของการกระทำจากผลของการกระทำที่มีต่อตัวผู้กระทำเท่านั้น เช่นการที่พระครูสุจิณนันทกิจ ท่านได้ปลูกป่าด้วยตัวเองเพื่อยันยันแนวคิดให้ชาวบ้านมีความเชื่อ ศรัทธา และปฏิบัติตามเครือข่ายองค์กรศาสนาด้านเอช ไอ วี (HIV) หรือโรคเอดส์ในประเทศไทย เน้นการพัฒนาให้ผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี ลุกขึ้นมาดูแลตนเอง พึ่งตนเองได้ รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และการพัฒนาชุมชนจังหวัดภาคเหนือ ส่วนแนวคิดของปรัตถนิยม ทฤษฎีนี้พิจารณาความถูกผิดของการกระทำจากผลของการกระทำที่มีต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นตัวผู้กระทำเอง ลัทธิเห็นแก่ผู้อื่นนี้ เป็นทฤษฎีจริยศาสตร์ที่ถือว่ามนุษย์คือสัตว์ที่จะต้องเสียสละ ซึ่งถือว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะเป็นอยู่เพื่อตัวเขาเอง และการช่วยเหลือผู้อื่นคือความหมายของการมีชีวิตอยู่
Article Details
References
กนกนาถ โพธิ และคณะ. (2550). “รูปแบบและกระบวนการการจัดการชุมชนพึ่งตนเองบ้านม่วงไข่”. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น. เชียงใหม่.
เครือข่ายองค์กรศาสนาด้านเอชวี/เอชในประเทศไทย. (2555). คู่มือโครงการเครือข่ายองค์กรศาสนาด้านเอชไอวี/เอดส์ ในประเทศไทย. กลุ่มสื่อสารและสนับสนุนวิชาการ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2554). จริยศาสตร์เบื้องต้น: มนุษย์กับอุดมคติและมาตรการ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตว์.
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล. (2547). “ศึกษาเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่ในทฤษฎีจริยศาสตร์ร่วมสมัย”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ส. ศิวรักษ์. (2550). คันฉ่องส่องจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม.
สมจิตรา กิตติมานนท์. (2560) “ศึกษาเรื่อง การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ในระดับชุมชนจังหวัดนครสวรรค์”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นครสวรรค์.