การศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในทัศนะของพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
A Study of the Good Quality of Life Development in Buddhist Perspective
บทความวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในทัศนะของพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา และ (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา คือ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญของพระพุทธศาสนา คือ กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักไตรสิกขา มี 3 กระบวนการ คือ (1) การพัฒนาพฤติกรรม (ศีล) (2) การพัฒนาจิตใจ (สมาธิ) เป็นเครื่องแก้ปัญหาชีวิต หรือสังคม และ (3) การพัฒนาความรู้ (ปัญญา)
การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักกายภาวนา คือ การพัฒนาทางด้านการสำรวมกาย (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสีลภาวนาและศีลสิกขา คือ การพัฒนาทางด้านจริยธรรมการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคม (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักจิตตภาวนาและจิตตสิกขา คือ การพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ และ (4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญาภาวนาและปัญญาสิกขา คือ การพัฒนาทางด้านปัญญา
การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักจักร 4 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยปฏิรูปเทสวาสะ (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยสัปปุริสูปัสสยะ (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยอัตตสัมมาปณิธิ (4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยปุพเพกตปุญญตา การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักประโยชน์ 3 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยอัตถประโยชน์ (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยสัมปรายิกัตถประโยชน์ (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยปรมัตถประโยชน์
Article Details
References
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 32. (กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม.
The WHO Group. (1995). “The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization”. Social Science and Medicine.
Liddle J. McKenna K. (2000) Quality of life: An overview of issues for use in occupational therapy outcome measurement, Aust Occup Ther J.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). “กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต”. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม.
สมใจ ลักษณะ. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2530). การประยุกต์ใช้แนวทางพุทธศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.