ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลโลกวัชชะกับการบัญญัติพระวินัยในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระบุญรอด ปคุณธิมฺฺโมฺ (บุญมฺีประเสริฐ)
วิโรจน์ วิชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดโลกวัชชะในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลโลกวัชชะกับการบัญญัติพระวินัย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) คำว่า “โลกวัชชะ” มี 2 ประการ คือ ประการแรก โลกวัชชะในความหมายโทษทางพระวินัย ใช้เรียกอาบัติหรือความผิดของพระภิกษุที่ชาวโลกตำหนิติเตียนว่าไม่ควรแก่สมณะ ประการที่สอง โลกวัชชะหมายถึงอาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหายชาวโลกติเตียน เช่น การดื่มสุรา มีโทษทางพระวินัยและเป็นโลกวัชชะที่ถูกตำหนิ พระอรรถกถาจารย์และฏีกาจารย์ได้ขยายขอบเขตไปถึงสิกขาบทว่า สิกขาบทข้อใดที่ต้องอาบัติด้วยอกุศลจิตล้วนๆ สิกขาบทนั้นชื่อว่าเป็นโลกวัชชะ


2) ในส่วนอิทธิพลโลกวัชชะ วิเคราะห์จะเห็นว่า มีความสำคัญอย่างมากต่อการบัญญัติพระวินัย ซึ่งมีอยู่ 2 ประการ คือ (1) โลกวัชชะกับพระวินัยในส่วนของประโยชน์ของพระศาสนา หมายถึงตัวพระวินัยหรือตัวสิกขาบท พระภิกษุที่ไม่มีเป้าหมายคือพระนิพพาน การล่วงละเมิดพระวินัย ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎกอยู่มากหลายสิกขาบท การกระทำของพระภิกษุที่ละเมิดนี้จึงถูกชุมชนสังคมตำหนิ ไม่เหมาะกับสมณวิสัย (2) โลกวัชชะกับพระวินัยในส่วนของประโยชน์ของประชาชนหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์กับชุมชนสังคม ภิกษุอาศัยการดำรงชีวิตด้วยปัจจัย 4 จากชุมชุนสังคม และชุมชนสังคมเองก็อาศัยการภิกษุได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้วเอื้อเฟื้อด้วยหลักธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). วินัย : เรื่องที่ใหญ่กว่าคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2537). วินัยมุข เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

สมผล อิ่นคำ. (2540). “การศึกษาวิเคราะห์วิธีระงับอธิกรณ์ตามพระวินัยปิฎก : ศึกษาตัวอย่างจากกรณีพระนิกร ธมฺมวาที”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อธิราช มณีภาค. (2546). “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปิฎกกับกระบวนยุติธรรมของกฎหมายไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.