ศึกษาวิเคราะห์บริบททางพุทธศาสนาผ่านพิธีกรรมการสักยันต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีกรรมการสักยันต์ในอดีตที่สะท้อนความที่มาผ่านบริบทของพุทธศาสนา ซึ่งการสักยันต์เป็นเรื่องราวของความเชื่อความศรัทธาด้วยพิธีกรรมที่เริ่มจากการท่องคาถาอาคมจากพระอาจารย์สืบทอดสู่พระอาจารย์ที่ทำหน้าที่สักยันต์และถ่ายทอดสู่ช่างสักที่เป็นคฤหัสถ์ ซึ่งบริบทพิธีกรรมการสักยันต์ของวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เริ่มต้นโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในนาม “หลวงพ่อ” ที่ยังสามารถถ่ายทอดพิธีกรรมการสักยันต์แก่พระลูกศิษย์สืบต่อรุ่นสู่รุ่น และส่งผลทำให้คนที่ศรัทธาในลายสักยันต์ที่กล่าวขานในเรื่องของพุทธคุณในลายสักยันต์ของ “หลวงพ่อเปิ่น” เป็นผู้คิดค้นกำเนิดขึ้น โดยเฉพาะลายยันต์เสือเผ่นเกิดความนิยมอย่างมากมีเอกลักษณ์เป็นที่ขนาดนามถึงพุทธคุณต่าง ๆ ในวงการสักยันต์ของไทยและขยายต่อไปยังนานาชาติ อีกทั้งบรรพชิตยังคงทำหน้าที่ของเกจิอาจารย์ทางด้านสักยันต์ให้เห็นทั่วไปอย่างคุ้นชินในสายตาของสังคมไทย แม้ปัจจุบันขั้นตอนและความเชื่อในพิธีกรรมการสักยันต์ของวัดบางพระได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยนิยมเพียงใด แต่การเลื่องลือของพุทธคุณในลายสักยันต์นี้ยังคงความขลังให้ผู้หลงใหลในพิธีกรรการสักยันต์ได้เข้ามารับการสักลายยันต์ของสายวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ประดับไว้บนสักแห่งของร่างกายจวบจนกระทั่งทุกวันนี้
Article Details
References
ณัฐธัญ มณีรัตน์. (2550). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ระบบยันต์ในภาคกลางของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร
: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
โดมภ์ ทิพย์สุดา. (2555). ยันต์ไทยยอดนิยม (หน้า 34). กรุงเทพมหานคร : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
นิวัฒน์ ประจักษ์. (2561). สายยันต์ : ภูมิปัญญาการสักยันต์ กรณีศึกษาเครือข่ายสำนักสักยันต์อาจารย์วัตร หมู่ที่12 ตำบลนาแว
อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พระมหาขจรไกร ญาณโสภโณ (สุขจีน). (2558). ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อความเชื่อเรื่องการสักยันต์
ในสังคมล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานพพล ธมฺมธโร (ศรีวิเชียร). (2557). ความเชื่อเรื่องการสักยันต์ของผู้มาสักยันต์วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม (ชีวิตและความตาย).
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพโรจน์ สโมสร. (2524). พระอริยานุวัตรกับการสักลาย. วารสารศิลปวัฒนธรรม. 2 (3), 12.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 (หน้า 654). กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.
ลานโพธิ์. (2535). หลวงพ่อเปิ่น:อิทธิมงคลนิยม (หน้า 20). กรุงเทพมหานคร : บางกอกสาสน์.