วิเคราะห์มโนคติเรื่องอภิมนุษย์ในผลงานทางปรัชญาของนิทเช่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาแนวคิดมนุษย์ในทัศนะของปรัชญาและศาสนา 2) ศึกษาประวัติและผลงานทางปรัชญาของนิทเช่ ที่เกี่ยวกับมนุษย์ 3) วิเคราะห์มโนคติเรื่องอภิมนุษย์ในผลงานทางปรัชญาของนิทเช่
พบว่า แนวคิดมนุษย์ในปรัชญาและศาสนา มนุษย์เป็นวัตถุประกอบขึ้นด้วยร่างกายและจิตใจ มีแบบแห่งความคิด บางแนวคิดพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ มนุษย์มีพฤติกรรม การตัดสินใจ ศักดิ์ศรี เสรีภาพ ความรู้ ศีลธรรม จริยธรรม ใช้สติปัญญา การเข้าถึงประโยชน์ของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ
แนวคิดมนุษย์ของนิทเช่ มนุษย์เกิดขึ้นจากบริบทและการใช้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ เช่น การดิ้นรนในศักดิ์ศรี เจตจำนงสู่อำนาจ การแยกแยะความดีความชั่ว คุณค่า จิตสำนึก และใน Thus Spoke Zarathustra มนุษย์มีคุณธรรม ความดี การเสียสละ ใน Human All Too Human มนุษย์มีชีวิตและประสบการณ์ผ่านทางอารยธรรม และใน The Will To Power มนุษย์มีแนวคิดว่ามนุษย์คือสิ่งที่ได้มาจากการตีความอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตจำนงสู่อำนาจ
มโนคติเรื่องอภิมนุษย์ ประกอบด้วย (1) อภิมนุษย์เชิงจิตตะ เป็นการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึก 2) อภิมนุษย์เชิงอัตตะ เป็นคุณค่า ความจริงของการดิ้นรนสู่สภาวะที่ดีกว่า 3) อภิมนุษย์เชิงธรรมะ เป็นการเข้าใจถึงจุดกำเนิดความหมายของความดีที่มีอยู่ในเจตคติ และ 4) อภิมนุษย์เชิงคณิตะ สามารถรับรู้คุณค่าและความดีเพื่อคุณธรรม
Article Details
References
กีรติ บุญเจือ. (2547). นีทเฉอ ผู้บุกเบิกแนวคิดหลังนวยุค ด้วยวิถีสู่อภิมนุษย์และซึ้งสุนทรีย์. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
ชาตรี ชุมเสน. (2551). จริยธรรมกับชีวิต. สำนักวิชาศึกษาทั่วไป: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พระมหาปพน กตสาโร (แสงย้อย). (2561). การวิเคราะห์อภิปรัชญาที่ปรากฏในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา. พุทธศาสตรดุษฎีนิพนธ์ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟรีดิริช วิลเฮล์ม นีทเช่: อัคนี มูลเมฆ แปล. (2550). ซาราธุสตราตรัสไว้ดังนี้. กรุงเทพมหานคร: โฆษิต.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2564). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมคริสตธรรมในประเทศไทย. (2514). ไบเบิ้นพระคริสคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมคริสตธรรมในประเทศไทย.
สุภาสรณ์ โกสีย์. (ม.ป.ป.). ปรัชญาทั่วไป. สงขลา: คณะศิลปะศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Christopher Frank Silver. (2013). ATHEISM, AGNOSTICISM, AND NONBELIEF: A QUALITATIVE AND QUANTITATIVE STUDY OF TYPE AND NARRATIVE,. USA: University of Tennessee.
Friedrich Wilhelm Nietzsche. (2006). Thus Spoke Zarathustra. Tr. by Adraian Del Caro. England: Cambridge University.
___________. (1910). Human All Too Human. Tr. by Helen Zimmern. LONDON: Printed by Morrison & GibbLimited Edinburgh.
___________. (1968). The Will To Power. Tr. by WALTER KAUFMANN and R. J. HOLLINGDALE. NewYork: ADIVISION OF RANDOM HOUSE.
Helen Tattam. (2007). EXISTENTIALIST ETHICAL THOUGHT IN THE THEATRE OF GABRIEL MARCEL, ALBERT CAMUS, AND JEAN-PAUL SARTRE,. UK: University of Nottingham.
Keith Ansell Pearson. (2006). A Companion to Nietzsche. UK: Blackwell Publishing Ltd.
M. K. GANDHI. (1996). THE ESSENCE OF HINDUISM. INDIA: NAVAJIVAN PUBLISHING HOUSE AHMEDABAD.
MAURICE CORNFORTH. (1978). Materialism and the Dialectical Method. NEW YORK: INTERNATIONAL PUBLISHEM.
Mykola Popovych et al. (2021). Introducing the concepts and methods of humanism into education for ensuring quality sustainable development. Republic of Korea: E3S Web of Conferences 277.
Reviewed by Olle Häggström. (2007). Irreligion. Notices of the AMS. 55 (7), 790.
ROSI BRAIDOTTI. (2013). Posthuman Humanities. European Educational Research Journal. 12 (1), 1-2.
STEPHEN MAITZEN. (2019). Normative Objections to Theism. United Kingdom: John Wiley & Sons Ltd.
Venerable Nārada Mahāthera. (1998). The Buddha and His Teachings. TAIWAN: The Corporate Body of the Buddha Educational Foundation Taipei.
W. Russ Payne. (2015). An Introduction to Philosophy. USA: Bellevue College.