การพัฒนาระบบดูแลสุขภาพนักบวชสตรีสูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สังคมผู้สูงอายุเป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทุกองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญ การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทำให้ทุกหน่วยงานต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพของสมาชิกในองค์กร นักบวชสตรีในประเทศไทยก็เช่นกัน ได้แก่แม่ชี อุบาสิกาผู้ก่ำกึ่งระหว่างบรรพชิตและฆราวาสผู้เคร่งครัดซึ่งอยู่ในสังกัดของสถาบันแม่ชีไทย และภิกษุณีหญิงไทยผู้บวชจากต่างประเทศแล้วกลับมาอาศัยดำเนินชีวิตในประเทศไทย แต่นักบวชสตรีเหล่านี้ยังคงไม่ได้รับการรับรองสถานะนักบวชตามกฎหมายไทย แต่ทุกคนล้วนเป็นประชากรไทยซึ่งหากเป็นผู้สูงอายุย่อมต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง ซึ่งคณะสงฆ์ไทยได้มีธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์และระบบพระคิลานุปัฏฐาก ซึ่งเป็นระบบดูแลพระสงฆ์อาพาธ รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรคและการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของพระสงฆ์ จึงควรส่งเสริมให้เกิดระบบพระคิลานุปัฏฐากในนักบวชสตรีเพื่อให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน และเกื้อกูลสร้างความเข้มแข็งแก่พุทธบริษัท 4 นำความรุ่งเรืองสู่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป
Article Details
References
จำเนียร ทรงฤกษ์. (2544). ชีวประวัติพุทธสาวิกา. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
ฉัตรวลัย ใจอารีย์ และ หทัยชนก บัวเจริญ. (2563). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับพระสงฆ์อาพาธในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 31 (2), 112-126.
ธัมมนันทา ภิกษุณี. (2547). เรื่องของภิกษุณีสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทส่องศยามจำกัด.
ปวีณา งามสิงห์. (2550). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมแสวงหาการดูแลสุขภาพของแม่ชีไทยสูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระศักดิธัช สํวโร. (2560). รูปแบบและกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนว พระพุทธศาสนาของประชาชนในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร. (2562). การพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากในโครงการวัดส่งเสริม สุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิกษุณีธัมมนันทา และคณะ. (2556). เครือข่ายภิกษุณีสงฆ์ไทยสายเถรวาท. พุทธสาวิกา. 15 (3), 5-11.
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม และคณะ. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงของแม่ชีไทย. รายงานการวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชมหาวิทยาลัย.
ทำเนียบรัฐบาล. (1 มกราคม 2566). ปี 2566 ปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63339
สมพร ปินทะยา. (2565). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิกษุณีล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (21 พฤศจิกายน 2556). ระบบสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.hsri.or.th/researcher/classroom/detail/474
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี : บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าท์.
สำนักทะเบียนกลาง. (3 มีนาคม 2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก http: //www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766