การเข้าถึงในการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ธันย์ชนก หมื่นใจสร้อย
วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการให้บริการการขนส่งสาธารณะของเมืองลำพูน และเสนอทางเลือกของเส้นทางการขนส่งสาธารณะเพื่อลดปริมาณการจราจรบนท้องถนน และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามด้านความพึงพอใจในการใช้บริการ จำนวน 31 ชุด มีระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2562 เพื่อนำมาวิเคราะห์ระดับการเข้าถึงขนส่งสาธารณะด้วยการประยุกต์ใช้หลักการ PTAL ของลอนดอน จากนั้นจึงประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ระยะทางที่สามารถเข้าถึงบริเวณจุดจอดรับ - ส่งด้วยวิธี Buffer และวิเคราะห์โครงข่ายของระบบขนส่งสาธารณะด้วยวิธี Inverse distance weighted ผลการศึกษาพบว่าระบบขนส่งสาธารณะในอำเภอเมืองลำพูนเป็นกึ่งสาธารณะ ได้แก่ รถสองแถวจำนวน 8 สาย และรถตู้จำนวน 1 เส้นทาง ปัญหาที่พบของระบบขนส่งสาธารณะคือเวลาการเดินรถและจุดจอดรถไม่แน่นอน รวมถึงขอบเขตของการให้บริการไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ทำให้ระดับการเข้าถึงอยู่ในระดับต่ำและมีผู้ใช้บริการน้อย ผลจากการวิเคราะห์โครงข่ายเมืองลำพูนควรเพิ่มเส้นทางที่รถโดยสารสาธารณะสามารถเข้าไปยังศูนย์ราชการ สำนักงานขนส่งจังหวัด และบริเวณรอบตัวเมืองด้านใน นโยบายและการวางแผนโครงข่ายเพื่อปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะที่ชัดเจนและมีคุณภาพจะส่งผลให้มีผู้ใช้บริการสามารถวางแผนการเดินทางตามเส้นทางที่ต้องการได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นอันจะนำมาซึ่งการลดปัญหาการจราจรติดขัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา เจิมขุนทด. (2554). แนวทางการวิเคราะห์ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ : กรณีศึกษาการเข้าถึงในการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะเทศบาลนครนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์) มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2535). การวิเคราะห์และวางแผนการด้านการขนส่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริญญา ปฏิพันธกานต์. (2550). ความต้องการระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์. (2531). เศรษฐศาสตร์เมือง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธพร ไสว. (2559). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การให้บริการขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

รัตนาภรณ์ บุญมี. (2561). การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะปัจจุบันและแผนแม่บทอนาคตในอำเภอเมืองพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัลภา ชายหาด. (2532). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะด้านรักษาความสะอาดของกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาญ เอกรินทรากุล. (2534). ลักษณะการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธรรมสอน. (2542). การศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. (2551). บทที่ 5 ระบบขนส่งสาธารณะ(Public Transportation). หนังสือประกอบการเรียน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. (2556). ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bruton, M.J. (1975). Introduction to Transportation Planning. Hutchinson & Co. (Publishers) Ltd., London. 251 p.

Geurs, K.T., Wee, B.V. (2004). Accessibility evaluation of land-use and transport strategies: review and research directions. Journal of Transport Geography.

: 127 - 140.

Murray, A.T. (2001). Strategic analysis of public transport coverage. Socio-Economic Planning Sciences. 35: 175 - 188.

Wu, B.M., Hine, J.P. (2003). A PTAL approach to measuring changes in bus service accessibility. Transport Policy. 10: 307 - 320.