https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/issue/feed
วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
2025-06-10T00:00:00+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ ผาเจริญ
jsmis2020.journal@gmail.com
Open Journal Systems
<table style="height: 604px;" width="709"> <tbody> <tr> <td width="778"> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย “Journal of Social Sciences and Modern Integrated Sciences (JSMIS)” เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความในสหสาขาวิชาการเกี่ยวกับสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยใหม่ที่มีขอบข่ายครอบคลุมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปร่วมกัน ได้แก่ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา รวมถึงสหวิชาการอื่นที่มีนัยทางทฤษฎีหรือการประยุกต์ใช้ในศาสตร์รวมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในมุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่ผู้สนใจโดยทั่วไปในทุกสาขาวิชา</td> </tr> <tr> <td width="778"> </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร ราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> ฉบับที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน </td> </tr> <tr> <td width="778"> ฉบับที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</td> </tr> <tr> <td width="778"> </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความของวารสาร</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยเปิดรับบทความภาษาไทยและอังกฤษในประเภทบทความวิจัย (Research) บทความวิชาการ (Viewpoint) จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และต้องให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และบทความแต่ละบทความจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p> ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะของกองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> </td> </tr> </tbody> </table> <table style="height: 477px;" width="700"> <tbody> <tr> <td width="645"> </td> </tr> <tr> <td> <p><strong>การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> <p> อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ <strong>บทความละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)</strong> โดยจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่านผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระมาที่ E-mail วารสารเท่านั้น เมื่อได้รับหลักฐานการชำระ ทางวารสารจะดำเนินการเพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตรงกับเนื้อหาของบทความพิจารณาต่อไป</p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> <p><strong> *หมายเหตุ</strong> ผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้<br /><strong> </strong>1. บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25% จากการตรวจสอบของ “CopyCatch” จากระบบ Thaijo<br /> 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสารที่กำหนดไว้<br /> 3. ผู้เขียนบทความขอถอดถอนหรือยกเลิกการตีพิมพ์<br /> 4. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ และหากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะสามารถชี้แจงให้บรรณาธิการพิจารณา ทั้งนี้การตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด</p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> ** โดยชำระเงินที่ <strong>ธนาคารออมสิน สาขาดอยสะเก็ด</strong><br /> หมายเลขบัญชี: <strong>020422940294</strong><br /> ชื่อบัญชี: <strong>วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย</strong><br /> เมื่อชำระแล้วให้ส่งสลิปการโอนเงินและแจ้งชื่อ-สกุล มาที่ E-mail:<strong> jsmis2020.journal@gmail.com</strong></td> </tr> </tbody> </table>
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5151
การมีส่วนร่วมของประชาชนการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนภาคเหนือ
2024-10-09T13:40:02+07:00
ภาสกร ใจการ
pasgon25@hotmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนภาคเหนือ โดยการถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จของประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์ และนำปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้นมาสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางการจัดการมลพิษหมอกควันในภาคเหนือของประเทศเพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไปทั่วประเทศ จึงพอสรุปได้ 5 ขั้นตอน 1) การแก้ปัญหาโดยการควบคุมมลพิษหมอกควันจากแหล่งกำเนิด 2) ภาครัฐจัดทำนโยบายการจัดการมลพิษหมอกควันที่มีความชัดเจน 3) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมลพิษหมอกควันข้ามพรมแดน 4) ศึกษาการจัดการมลพิษหมอกควัน และการป้องกันของภาคประชาชน 5) การปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายมลพิษทางอากาศให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาในข้างต้น การบริหารจัดการมลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนภาคเหนือจะสามารถประสบความสำเร็จและเห็นผลได้นั้น จะต้องมีนโยบายของภาครัฐที่มีความชัดเจน และการบูรณาการของภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจ ร่วมกันส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนในชุมชน เช่น ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชนในการเฝ้าระวังและรายงานจุดไฟไหม้ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศภาคประชาชน ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความยึดหยุ่นในการรับรู้ปัญหามลพิษหมอกควันข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด “การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่” (New Public Governance) เพื่อสร้างสังคมปลอดมลพิษหมอกควัน ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้ความเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5976
บทบาทของสตรีมุสลิมในการพัฒนาสังคมไทย
2025-03-14T14:33:34+07:00
โซเฟีย ไทยอนันต์
aree.binprathan@gmail.com
อารีย์ บินประทาน
aree.binprathan@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการศึกษาบทบาทของสตรีมุสลิมในการพัฒนาสังคมไทย โดยวิเคราะห์ผ่าน 4 มิติหลัก ได้แก่ 1) การส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนและชุมชน 2) การศึกษาและการพัฒนาทักษะเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางสังคม 3) การมีส่วนร่วมทางศาสนาและสังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน และ 4) การสร้างเครือข่ายและการพึ่งพาตนเองเพื่อความมั่นคงทางสังคม ผลการศึกษาพบว่าสตรีมุสลิมมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บทความนี้นำเสนอแนวทางและกลยุทธ์ในการส่งเสริมศักยภาพของสตรีมุสลิมให้สามารถมีบทบาทที่เข้มแข็งขึ้นในสังคมไทย องค์ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาสตรีมุสลิมให้มีความเท่าเทียมและมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5111
การพัฒนาการจัดเก็บภาษีอากรด้วยระบบดิจิทัลของกระทรวงการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2024-09-22T12:26:50+07:00
วงคำแหง วงทะจักร
phassy77@gmail.com
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
phassy77@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายการจัดเก็บภาษีปัจจุบันของกระทรวงการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) การรับรู้และยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดเก็บภาษี 3) แนวทางพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีด้วยระบบดิจิทัลของกระทรวงการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่างผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และเจ้าหน้าที่กระทรวงการเงิน จำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) นโยบายการจัดเก็บภาษีในลาวมุ่งเน้นการบริหารจัดการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีศุลกากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยใช้อัตราภาษีที่แตกต่างกันตามพื้นที่และรายได้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ที่ต้องการพิเศษ 2) การวิเคราะห์การรับรู้และยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดเก็บภาษีในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่าผู้เสียภาษีมีการรับรู้และยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับมาก แต่ยังมีอุปสรรคใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ความรู้ในระบบออนไลน์ ข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล ความเข้าใจในกฎหมายภาษี และขั้นตอนการยื่นแบบ ซึ่งโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) มุ่งวิเคราะห์การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีของลาวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นกลยุทธ์ในการส่งเสริมความรู้ด้านภาษี พัฒนาระบบ e-filing และ FINLINK และขยายฐานภาษีผ่านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการจัดการภาษี</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5122
ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเชียงใหม่ จำกัด
2024-10-14T17:35:36+07:00
กฤตภรณ์ ทาโสด
bebysmily2@gmail.com
กมลทิพย์ คำใจ
bebysmily2@gmail.com
ชุติมันต์ สะสอง
bebysmily2@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการชำระหนี้ของข้าราชการตำรวจที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเชียงใหม่ จำกัด และ 2) ทดสอบปัจจัยการชำระหนี้ที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของข้าราชการตำรวจที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเชียงใหม่ จำกัด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการชำระหนี้ มีระดับมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยจากสหกรณ์ ด้านปัจจัยจากภายนอก และด้านปัจจัยจากสมาชิกผู้กู้ ตามลำดับ ส่วนระดับความคิดเห็นของความสามารถในการชำระหนี้มากที่สุด คือ การชำระหนี้ตรงตามเวลา และการชำระหนี้ครบตามจำนวน ตามลำดับ ด้านปัจจัยภายนอก และด้านปัจจัยจากสหกรณ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเชียงใหม่ จำกัด ได้ร้อยละ 57.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.72</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5147
การศึกษาพหุวัฒนธรรมกับความมั่นคงของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
2024-10-09T13:43:17+07:00
ชญาภา แม่นศรแผลง
chayapa.pang55@gmail.com
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
chayapa.pang55@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว รวมถึงกระบวนการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม งานวิจัยดำเนินการในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตภาคสนาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนาและวัฒนธรรม ปราชญ์ท้องถิ่น ชาวบ้าน และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 12 คน ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามประเด็นการวิจัย และนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีรากฐานจากจิตวิญญาณทางศาสนา ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการศึกษาในโรงเรียนวัดน้ำเชี่ยว ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของพิธีกรรม ภาษา การแต่งกาย และวิถีชีวิต นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านนิเวศวิทยา การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม บุคลิกภาพ และอุดมการณ์ 2) กระบวนการผสมกลมกลืนในชุมชนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การยอมรับ การแข่งขัน การปรับตัว และการผสมกลมกลืน โดยเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเคารพในความแตกต่าง การประสานผ่านผู้นำศาสนา และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นภายในชุมชน ทั้งนี้ แม้จะมีการหลอมรวมทางวัฒนธรรมบางประการ แต่อัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มยังคงได้รับการรักษาไว้อย่างชัดเจน สุดท้าย ผลกระทบต่อความมั่นคงของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวปรากฏในสามมิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางการเมืองผ่านผู้นำที่เป็นกลาง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านระบบตลาดภายใน และความมั่นคงทางสังคมที่ยึดโยงกับครอบครัว ศาสนา และโรงเรียน อันสะท้อนถึงพลังของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5247
การพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากรของคนพลัดถิ่นอันเนื่องมาจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าเทินหินบูนภาคขยายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2025-02-08T12:37:14+07:00
แก้วอุ่นเรือน จันทวงศา
phassy77@gmail.com
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
phassy77@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์ชีวิตของผู้พลัดถิ่นจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าเทินหินบูนภาคขยายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเน้นศึกษาการจัดการและการเข้าถึงทรัพยากรของผู้พลัดถิ่น และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่างประกอบด้วยผู้ได้รับผลกระทบ 52 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสนทนากลุ่มร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและนักวิชาการ รวม 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสบการณ์และการเข้าถึงทรัพยากรของคนพลัดถิ่นจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าเทินหินบูนใน สปป.ลาว พบว่าคนพลัดถิ่นต้องเผชิญกับความสูญเสียที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้พวกเขามีความรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดการเชื่อมโยงกับชุมชนเดิม นอกจากนี้ การปรับตัวในพื้นที่ใหม่ยังสร้างความตึงเครียดกับชุมชนท้องถิ่น มีปัญหาสุขภาพจิต และการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างจำกัด กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิงและผู้สูงอายุได้รับผลกระทบมากที่สุด 2) การเข้าถึงทรัพยากรโดยรวมยังอยู่ในระดับปานกลาง แม้ว่าจะมีการพัฒนาทักษะอาชีพและการเข้าถึงบริการสาธารณะในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังคงมีข้อจำกัดที่ต้องได้รับการแก้ไขและ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดสรรที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาระบบสนับสนุนทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริการสาธารณะ การฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการติดตามและประเมินผล</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5977
การบริหารงานตามหลักพุทธบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
2025-03-18T16:48:59+07:00
สมคิตร์ ดีวงค์
somkiddeevong@gmail.com
นพดณ ปัญญาวีรทัต
somkiddeevong@gmail.com
ประเสริฐ ปอนถิ่น
somkiddeevong@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักพุทธบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง การวิจัยดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลคือประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 335 คน ผ่านแบบสอบถาม และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ตัวแทนผู้บริหาร 1 คน 2) ตัวแทนนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา 1 คน 3) ตัวแทนนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ 1 คน และ 4) ตัวแทนประชาชน 6 คน รวมทั้งสิ้น 9 รูป/คน ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามประเด็นการวิจัย และนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้างตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโดยรวม นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้สมมติฐานของการวิจัยถูกปฏิเสธ สำหรับปัญหาและอุปสรรค ประชาชนเสนอให้มีการรณรงค์และสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงส่งเสริมอาชีพและสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งเสนอให้มีการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมในทุกหมู่บ้าน รวมถึงการจัดบริการสาธารณะให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/5298
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการบูรณาการการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าด้วยการชิงเผาของตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
2025-02-01T09:06:37+07:00
อุ่นเรือน คำภิโล
mju6405405028@mju.ac.th
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล
mju6405405028@mju.ac.th
<p>งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์เป้าหมายยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือ 2) วิเคราะห์การกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม และ 3) วิเคราะห์การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติจริง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้นำชุมชน ตัวแทนองค์กร/หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 50 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการผ่านหลากหลายวิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามประเด็นการวิจัย แล้วจัดเรียงผลในรูปแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันใช้การชิงเผาควบคู่กับการบูรณาการวิธีอื่น ๆ โดยมีการร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน พบว่าจุดชิงเผาลดลงจาก 40-50 จุดในปี 2562 เหลือ 2-3 จุดในปี 2566 การจัดการปัญหาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ซึ่งเน้นการวางแผนและประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลดผลกระทบและสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา 2) การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าด้วยการชิงเผา พบว่า กระบวนการจัดการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และหลังเกิดเหตุ โดยมี 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม (2) การจัดทำแผนปฏิบัติการโดยองค์กรในพื้นที่ และ (3) การใช้การชิงเผาเป็นมาตรการหลัก โดยการประชุมร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์เหล่านี้ช่วยให้การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้ 3) การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า เน้นการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมจากทุกภาคส่วน การบูรณาการทรัพยากรในระดับท้องถิ่น การสร้างความรู้และจิตสำนึกในชุมชน การใช้มาตรการเชิงรุกในการชิงเผาและป้องกันการลุกลามของไฟ รวมถึงการติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน แนวทางนี้เสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต</p>
2025-06-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย