แบบฟอร์มลงทะเบียนเพื่อเสนอตีพิมพ์บทความ                             

          คำแนะนำสำหรับผู้เขียน                                                             

          รูปแบบการเขียนบทความวิจัย                                            

          รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ                                       

          รูปแบบการเขียนบทความปริทรรศน์                                    

 
การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
          วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ โดยผู้เขียนจะต้องสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ 
                    1. บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25%
                    2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร
                    3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ
                    4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ)
** โดยชำระเงินที่ ธนาคารออมสิน สาขาดอยสะเก็ด
                    หมายเลขบัญชี: 020422940294
                    ชื่อบัญชี: วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย
                    เมื่อชำระแล้วให้ส่งสลิปการโอนเงินและแจ้งชื่อ-สกุล มาที่ E-mail: [email protected]
 
รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ
          ผู้เขียนบทความที่ส่งบทความมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย “Journal of Social Sciences and Modern Integrated Sciences (JSMIS)” จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องยินยอมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในท้ายบทความ ต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ของวารสารในรูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตาม APA Style 6th edition ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานด้วยโปรแกรม Copy Catch ในระบบของ ThaiJo ไม่เกิน 25% ผู้ใดประสงค์จะตีพิมพ์บทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของวารสารดังนี้
                    1. ผู้เขียนต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร
                    2. ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
                    3. กระดาษ B5 มีความยาวระหว่าง 12-15 หน้า (รวมหน้าเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาดอักษร 16 pt. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ด้านบนและด้านซ้าย 1.0 นิ้ว ด้านล่างและด้านขวา 0.5 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และย่อหน้า 0.5 นิ้ว
                    4. การนำเสนอรูปภาพและตารางต้องมีความชัดเจนและชื่อกำกับใต้ภาพไว้ด้านล้าง พิมพ์เป็นตัวธรรมดา ขนาด 14 pt. เช่น ตารางที่ หรือ Table และภาพ หรือ Figure และโมเดล หรือ Model รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้ ซึ่งเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับโดยต้องมีคำอธิบายกระซับและสอดคล้องกับรูปที่นำเสนอ
                    5. ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทย (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) และภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) พิมพ์ไว้หน้าแรกชิดขอบขวา
                    6. ชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (16 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติ อยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงานตามดับ ตัวอย่างเช่น
                           
                           
                    7. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 350 คำ 
                    8. กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 3 -5 คำ
                    9. การใช้ตัวเลขต้องใช้ตัวเลขอารบิกเท่านั้น
                    10. สามารถส่งบทความเข้าระบบ ThaiJo ในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย ได้ที่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS
 
การเตรียมต้นฉบับในบทความมีเนื้อหาแต่ละประเภทมีการเรียงลำดับ ดังนี้ 
บทความวิจัย ให้เรียงลำดับ ดังนี้ 
          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
          2. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทของงานวิจัย การระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัย โดยสรุปให้สั้นและกระชับความ
          3. บทนำ (Introduction) ระบุเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหา 
          4. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับข้อ
          5. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแผนการวิจัย กลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
          6. สรุปผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิก็ได้
          7. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด พร้อมระบุองค์ความรู้จากการวิจัย
          8. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) เป็นนำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากงานวิจัย สามารถนำเสนอรูปแบบของการเขียนความเรียง หรือโมเดลพร้อมคำอธิบายที่กระชับ เข้าใจง่าย
          9. สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and suggestion ) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป
          10. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA
 
บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับ ดังนี้ 
          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
          2. บทคัดย่อ (Abstract) นำเสนอประเด็นปัญหา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทางปฏิบัติในเชิงวิชาการข้อค้นพบ มุมมอง ทัศนะ ที่สะท้อนทางออก ทางเลือก องค์ความรู้ใหม่ โดยเขียนให้กระชับและชัดเจน
          3. บทนำ (Introduction) 
                    - ความเป็นมาบริบท สภาพปัญหาของประเด็นที่ศึกษา/กรณีที่ศึกษา (อ้างอิง)
                    - หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
                    - แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ที่หวังได้จากการศึกษา
          4. เนื้อเรื่อง (Content) 
                    - บริบทความเป็นมา ประเด็นปัญหา แสดงสาระสำคัญภายใต้กรอบแนวคิดใน เชิงวิชาการ ย่อหน้า วรรคตอน ให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน (อ้างอิง)
                    - นำเสนอหลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ ที่สะท้อนมุมมอง องค์ความรู้ใหม่อย่างเป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหา หรือการส่งเสริมพัฒนา โดยสอดคล้องกับหลักการวิชาการ (อ้างอิง)
          5. สรุป (Conclusion) สรุปภาพรวมคลอบคลุมผลการศึกษาที่นำเสนอ และสะท้อนคุณค่าทางวิชาการ (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
          6. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ชุดองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์หรือโมเดล พร้อมทั้งการอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจง่าย)
          7. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA
 
บทความปริทรรศน์ ให้เรียงลำดับ ดังนี้  
          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
          2. บทคัดย่อ (Abstract) นำเสนอประเด็นปัญหา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทางวิถีปฏิบัติในเชิงวิชาการข้อค้นพบ มุมมอง ทัศนะ ที่สะท้อนทางออก ทางเลือก องค์ความรู้ใหม่ โดยเขียนให้กระชับและชัดเจน
          3. บทนำ (Introduction) บริบท ความเป็นมาของประเด็นที่ศึกษา มีองค์ประกอบและประเด็นที่ศึกษา บท หมวดหมู่ ลักษณะ ชนิด ประเภท วัตถุประสงค์ คุณค่าประโยชน์ และสาระสำคัญ ฯลฯ
          4. เนื้อเรื่อง (Content) รายละเอียดเนื้อหา องค์ประกอบหรือประเด็นที่ศึกษา สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่
                    ส่วนย่อยที่ 1 ปูพื้นฐานความรู้แก่ผู้อ่านในเรื่องที่จะกล่าวถึง
                    ส่วนย่อยที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริง ใช้เหตุผล หลักฐานเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้อ่าน
                    ส่วนย่อยที่ 3 เสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เขียนต่อประเด็นที่นำเสนอ
          5. บทวิจารณ์ (Discussion) นำเสนอหลักการ แนวคิด ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ ที่สะท้อนมุมมองเหตุผลความคาดหวัง ผลกระทบ สาระสำคัญ ตามหลักทฤษฎีเชิงวิชาการ พร้อมเสนอแนะแนวทางเพื่อการแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด หรือจุดเด่น และจุดอ่อน (อ้างอิงถ้ามี)
          6. สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปภาพรวมคลอบคลุมผลการศึกษาที่นำเสนอ และสะท้อนคุณค่าทางวิชาการ (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
          7. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ชุดองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์หรือโมเดล พร้อมทั้งการอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจง่าย)
          8. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA
 
การอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA
 
หมายเหตุ:
          1. ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ ให้นำไปใส่ท้ายชื่อ โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อกับราชทินนามและฐานนันดรศักดิ์ ส่วนสมณศักดิ์ให้คงรูปตามเดิม
          2. กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้งสองคนตามลำดับที่ปรากฏ เชื่อมด้วยคำว่า “และ” สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย “&” สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ระหว่างคนที่ 1 และคนที่ 2 โดยเว้น 1 ระยะก่อนและหลัง
          3. ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น โดยเว้น 1 ระยะ และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) ทั้งนี้การกลับชื่อสกุลให้ใช้ตามความนิยมของคนในชาตินั้น โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อสกุลและอักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง หากกรณีที่ผู้แต่งมีคำต่อท้าย เช่น Jr. หรือคำอื่น ๆ ให้ใส่คำดังกล่าวต่อท้ายอักษรย่อชื่อต้น หรือ อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาพ
          4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ลงรายการโดยเรียงลำดับจากหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย และเว้นวรรคจากชื่อหน่วยงานใหญ่ไปหาชื่อหน่วยงานย่อย
          สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ APA Style 6th edition เช่น APA Formatting and Style Guide. From http://owl.english.purdue.edu /owl/resource/560/01/AmericanPsychological Association (APA) 6th edition style Examples. From www.lib.monash.edu.au/tutorials/citing/ apa-a4.pdf
          วิธีเรียงอ้างอิง การเรียงอ้างอิงใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นสากล โดยคำที่มีสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก - กฮ ดังนี้
          ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤา ล ฦ ฦา ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ
          ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้
          อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ