วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS <table style="height: 604px;" width="709"> <tbody> <tr> <td width="778"> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย “Journal of Social Sciences and Modern Integrated Sciences (JSMIS)” เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความในสหสาขาวิชาการเกี่ยวกับสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยใหม่ที่มีขอบข่ายครอบคลุมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปร่วมกัน ได้แก่ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา รวมถึงสหวิชาการอื่นที่มีนัยทางทฤษฎีหรือการประยุกต์ใช้ในศาสตร์รวมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในมุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่ผู้สนใจโดยทั่วไปในทุกสาขาวิชา</td> </tr> <tr> <td width="778"> </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร ราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> ฉบับที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน </td> </tr> <tr> <td width="778"> ฉบับที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</td> </tr> <tr> <td width="778"> </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความของวารสาร</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="778"> กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยเปิดรับบทความภาษาไทยและอังกฤษในประเภทบทความวิจัย (Research) บทความวิชาการ (Viewpoint) จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และต้องให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และบทความแต่ละบทความจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </td> </tr> <tr> <td width="778"> <p> ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัยถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะของกองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> </td> </tr> </tbody> </table> <table style="height: 477px;" width="700"> <tbody> <tr> <td width="645"> </td> </tr> <tr> <td> <p><strong>การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> <p> อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ <strong>บทความละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)</strong> โดยจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่านผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระมาที่ E-mail วารสารเท่านั้น เมื่อได้รับหลักฐานการชำระ ทางวารสารจะดำเนินการเพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตรงกับเนื้อหาของบทความพิจารณาต่อไป</p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> <p><strong> *หมายเหตุ</strong> ผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้<br /><strong> </strong>1. บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25% จากการตรวจสอบของ “CopyCatch” จากระบบ Thaijo<br /> 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสารที่กำหนดไว้<br /> 3. ผู้เขียนบทความขอถอดถอนหรือยกเลิกการตีพิมพ์<br /> 4. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ และหากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะสามารถชี้แจงให้บรรณาธิการพิจารณา ทั้งนี้การตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด</p> </td> </tr> <tr> <td width="645"> ** โดยชำระเงินที่ <strong>ธนาคารออมสิน สาขาดอยสะเก็ด</strong><br /> หมายเลขบัญชี: <strong>020422940294</strong><br /> ชื่อบัญชี: <strong>วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย</strong><br /> เมื่อชำระแล้วให้ส่งสลิปการโอนเงินและแจ้งชื่อ-สกุล มาที่ E-mail:<strong> jsmis2020.journal@gmail.com</strong></td> </tr> </tbody> </table> th-TH jsmis2020.journal@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ ผาเจริญ) jsmis2020.journal@gmail.com (วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย) Sat, 27 Apr 2024 15:17:26 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2863 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามเกณฑ์ ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (x²)=3.76, df=2, P=0.15, GFI=1, AGFI=0.98, RMR=0.012, และ RMSEA=0.047 3) การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการบริหารงาน ซึ่งสามารถกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพัฒนาเป็นรูปแบบที่เรียกว่า GAPA Model คือ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร การบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ การปฏิบัติงาน และการบริหารงาน เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป</p> ศรัณย์ วงษ์มาก, ไชยวัฒน์ เผือกคง, อมร หวังอัครางกู Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2863 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา: บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2894 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการการจัดการปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย 2) ระดับการประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย 3) แนวทางการจัดการแก้ไขที่ดินที่มีการผลักดันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติสู่ประชาชนในพื้นที่บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนในหมู่บ้านใหม่ล้านนา จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการการจัดการปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชนบ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ยั่งยืนและด้านการบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและที่อาศัยด้วยความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านการใช้ที่ดิน คทช. ตามนโยบายของภาครัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม และด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แนวทางการจัดการแก้ไขที่ดินที่มีการผลักดันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติสู่ประชาชนในพื้นที่บ้านใหม่ล้านนา การบริหารจัดการที่ดินของรัฐต้องมีการดำเนินนโยบายด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในรูปแบบของคณะกรรมการหรือการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องการจัดการที่ดินเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าสามารถแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์</p> รุ่งสุริยา เชียงชีระ, ประเสริฐ ปอนถิ่น, ธิติวุฒิ หมั่นมี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2894 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3293 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาระดับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดองค์กรส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน วิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิธี Stepwise Multiple Regression Analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผล รองลงมา คือ การจัดตั้งควบคุมองค์การให้สมดุล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ส่วนการบริหารทรัพยากรในองค์การ 2) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประกาศเกียรติคุณและการรายงานผล รองลงมา คือ ด้านงบประมาณในการระดมทรัพยากร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผู้นำระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา 3) ภาวะผู้นำการเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผล (X<sub>3</sub>) ด้านการจัดตั้งควบคุมองค์การให้สมดุล (X<sub>5</sub>) และด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (X<sub>1</sub>) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 50.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> แทนพันธุ์ โกสุวินทร์, กฤษฎิ์ กิตติฐานัส Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3293 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 3 แบบการเรียนรู้เชิงรุกในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3393 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 3 แบบการเรียนรู้เชิงรุก 2) นำเสนอผลการจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 3 แบบการเรียนรู้เชิงรุกในสถานการแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและกึ่งทดลอง กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาสาขานิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติและวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ระบบออนไลน์มีขบวนการเลือกเนื้อหาที่มีสาระสำคัญในแต่ละบทเรียนที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เข้าใจเนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติจริง มากกว่าการท่องจำเพียง การเรียนรู้เชิงรุกทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 3 โดยผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งก่อนเข้าเรียนและขณะเรียนบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ การฝึกให้ผู้เรียนได้เขียนตอบข้อสอบแบบปัญหาอุทาหรณ์หรือการเขียนตอบข้อสอบแบบ 3 ย่อหน้า 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงลึก โดยมีการวางหลักกฎหมาย วินิจฉัย และสรุป ตามหลักเกณฑ์ของการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายเพื่อใช้ในการสอบกลางภาคและปลายภาคส่งผลโดยตรงต่อคะแนนสอบของผู้เรียนดีขึ้น การรักษาเวลาทั้งผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องครอบคลุมเนื้อหาในรายวิชาอย่างครบถ้วนและผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษากฎหมายทั้งการพูดโต้ตอบและการเขียน ทำให้ผู้เรียนได้ผลการเรียนรู้ครบทุกด้าน</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ชีวิตและทรัพย์สินของทุกคน หากแต่การเรียนการสอนในรายวิชากฎหมายพาณิชย์ธุรกิจ 3 ยังคงจะต้องดำเนินไปและผู้เรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาของวิชาอย่างครบถ้วนตามกรอบระยะเวลา โดยผู้สอนได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด</p> ชดาทิพ ศุภสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3393 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเข้าถึงสวัสดิการของคนพิการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในเขตเทศบาลนครระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2763 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสวัสดิการของคนพิการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และศึกษาความพึงพอใจของคนพิการที่มีต่อสวัสดิการที่ได้รับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครระยองวิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้พิการที่มีสิทธิรับเบี้ยคนพิการในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ถึงเข้าถึงสวัสดิการโดยใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.79 มีผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ/ผู้ดูแล เป็นคนลงทะเบียนให้ สำหรับมาตรการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาลในระยะที่ 1 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.50 เลือกมาตรการลดภาระบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และคืนค่าประกันการไฟฟ้า ส่วนมาตรการการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาลระยะที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.07 เลือกโครงการเราไม่ทิ้งกันสนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน และมาตรการการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 3 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.29 เลือกโครงการเราชนะ 2) ความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยในทุกมาตรการ/โครงการ สำหรับความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจต่อโครงการเราไม่ทิ้งกันสนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน และโครงการคนละครึ่ง ในระดับปานกลาง ส่วนโครงการเราเที่ยวด้วยกันอยู่ในระดับน้อยที่สุด และความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจโครงการเราชนะในระดับปานกลาง โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการ เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โครงการคนละครึ่งเฟส 3 มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ มีความพึงพอใจระดับน้อย ยกเว้นโครงการ ยิ่งใช้ ยิ่งได้ มีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด</p> วนาลี มากคช, สุปราณี ธรรมพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/2763 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 โครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3128 <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดของประชาชนผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีวิจัยแบบผสม เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม จำนวน 108 ชุด ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดของประชาชนผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือผ่านโครงการธนาคารโคกระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านความมีเหตุผล ด้านความพอประมาณ ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรค พบว่าโดยเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นรายด้าน ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านความมีเหตุผล ด้านภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และด้านความพอประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือ พบว่า หน่วยงานภาครัฐและแกนนำชุมชน ต้องใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเป็นแนวทางการปฏิบัติตนให้ประชาชนรู้จักการพึ่งพาตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มีจิตสำนึกที่ดี เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังมาใช้ในการดำเนินการทุกขั้นตอน เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี</p> เพ็ญนภา ทองปรอน, ไชยวัฒน์ เผือกคง, ธุวพล ทองอินทราช Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3128 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส ภายใต้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3869 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ และ 2) ทราบข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ 1) ตัวแทนคณะทำงานหน่วยจัดการเรียนรู้ จำนวน 120 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน 3) คณะทำงานปฏิบัติการในพื้นที่ (พี่เลี้ยงภาค/ที่ปรึกษา) จำนวน 50 คน 4) ผู้บริหารกำกับทิศทางโครงการ กสศ. จำนวน 5 คน 5) องค์กรภาคีเครือข่าย จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 300 คน เน้นการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงใช้เครื่องมือการวิจัย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่มย่อย การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วม/สรุปบทเรียน และการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงพรรณนา โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบแบบสามเส้า</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส ประกอบด้วย 1. การพัฒนาอาชีพบนฐานชุมชน 2. กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 3. กลไกการจัดการโดยชุมชน 4. การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาส 5. การบูรณาการกับหน่วยงานทั้งในและนอกชุมชน และ 6. กระบวนการหนุนเสริมเชิงวิชาการร่วมกับพี่เลี้ยง ส่วนข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส พบว่า 1. การทำงานและกิจกรรมพัฒนาอาชีพภายใต้สถานการณ์โควิค-19 2. ขาดการวิเคราะห์ทุนชุมชน หรือความพร้อมคณะทำงานไม่สอดคล้องกับการใช้ชุมชนเป็นฐาน 3. ความไม่ชัดเจนต่อการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการทั้งระบบอาชีพ 4. ขาดความเข้าใจบริบทชุมชนและการกระจายตัวของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนสูง และ 5. ขาดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวและสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่ง่ายต่อการพัฒนาอาชีพ</p> พงศกร กาวิชัย, สมคิด แก้วทิพย์, สิทธิชัย ธรรมขัน, กาญจนาพร สายวงค์ฝั้น Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3869 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3357 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน วิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิธี Stepwise Multiple Regression Analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลงมา คือ การสร้างแรงบันดาลใจและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา 3) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .629 และสามารถพยากรณ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ร้อยละ 39.10 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 2.95</p> วรัญญา ทองเสริม, กฤษฎิ์ กิตติฐานัส Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/3357 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700