บทวิเคราะห์การเข้าสู่วาระนโยบายกัญชาเสรีในประเทศไทยโดยใช้ตัวแบบของคิงด็อน

Main Article Content

สุมิตรา มณีโชติ
สิริวรรณ พรหมเมศร์
เชษฐ์ ใจเพชร
ภาวิดา รังษี

บทคัดย่อ

กัญชาเป็นพืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษหากนำมาใช้อย่างไม่ถูกวิธี คนไทยมีภูมิปัญญาเรื่องการใช้กัญชามานานแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2562 เป็นต้นมานโยบายการเปิดเสรีกัญชาได้รับความสนใจอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของนโยบายเกี่ยวกับกัญชาในประเทศไทย และ 2) วิเคราะห์การเข้าสู่วาระนโยบายกัญชาเสรีในประเทศไทยโดยใช้ตัวแบบของคิงด็อน จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าประเทศไทยมีนโยบายเกี่ยวกับกัญชาในรูปแบบของกฎหมาย ประกาศกระทรวงและคำสั่งต่างๆ โดยกฎหมายฉบับแรกคือพระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ.2477 จนกระทั่งใน พ.ศ.2562 รัฐค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกฎหมายจนมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนปลูกกัญชาได้เพียงลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่นที่กำหนด คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเข้าถึงกัญชาได้ง่าย เสมือนเป็นการเปิดเสรีกัญชา ก่อให้เกิดผลเสียตามมาในหลายด้านทำให้จากเดิมที่สังคมสนับสนุนให้มีการนำกัญชามาใช้เพื่อการวิจัยและการแพทย์ เปลี่ยนเป็นต่อต้านการเปิดเสรีกัญชาเพราะรัฐไม่มีมาตรการควบคุมอย่างรัดกุม การเปลี่ยนแปลงจากการสนับสนุนกลายเป็นต่อต้านนโยบายมีความสอดคล้องกับการตั้งคำถามต่อนโยบายตามตัวแบบหลายกระแสของคิงด็อน เมื่อวิเคราะห์นโยบายกัญชาเสรีตามตัวแบบนี้พบว่ากระแสปัญหา กระแสนโยบาย และกระแสการเมือง ยังไม่สามารถผลักดันให้เปิดหน้าต่างของนโยบายได้ นโยบายกัญชาเสรีจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่ในอนาคตหากรัฐจัดทำและนำเสนอมาตรการควบคุมการใช้กัญชาที่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดการสนับสนุนจากประชนและฝ่ายการเมือง จนทำให้ทั้ง 3 กระแสผลักดันให้เปิดหน้าต่างนโยบายและเกิดนโยบายกัญชาเสรีขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ยอดล่าสุด ลงทะเบียนจดแจงปลูกกัญชาผ่านแอพฯ “ปลูกกัญ” แล้วเกือบล้านคน. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1012077

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). โปรดเกล้า พรบ.ประมวลกฎหมายยาเสพติด 64 กัญชานำเข้าได้เฉพาะเมล็ดพันธุ์. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2238393

แนวหน้า. (2565). แพทย์ 1,363 คน ทั่ว ปท. ล่าชื่อหยุดแถลงการณ์จี้หยุด “กัญชาเสรี” ทันที. เข้าถึงได้จาก https://www.naewna.com/local/681109

ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2563). กัญชาทางการแพทย์สำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(1), 13-20.

พัชรี สิโรรส และธีรพัฒน์ อังศุชวาล. (2558). เปิดกล่องนโยบายศึกษาว่าด้วยที่มา ที่เป็น และที่ไปของการศึกษานโยบายสาธารณะ. ใน วสันต์ เหลืองประภัสร์ ธีรพัฒน์ อังศุชวาล และพัชราภา ตันตราจิน (บก.), เปิดกล่องนโยบายสาธารณะ หลากมุมมองในการศึกษานโยบายสาธารณะร่วมสมัย (น. 26-79). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และโชษิตา ภาวะสุทธิไพศิฐ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 71-91.

วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย และนโยบายหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 36(2), 17-39.

วิชัย โชควิวัฒน. (2562). กัญชา กัญชา เป็นยาวิเศษจริงหรือ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 17(2), 324-340.

สุรศักดิ์ โปร่งจันทึก. (2534). การควบคุมยาเสพติดให้โทษและการบำบัดรักษา. วารสารแพทย์เขต 7, 10(3), 185-191.

อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล. (2562). การแพทย์แคนนาบินอยด์และกัญชาการแพทย์. เข้าถึงได้จาก https://thaicam. go.th/wp-content/uploads/2019/08/การแพทย์แคนนาบินอยด์-และกัญชาการแพทย์.pdf

Anderson, J.E. (1984). Public Policy-Making. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Kingdon, J. (1995). Agendas, Alternatives and Public Policies. New York: Harper Collins.

The Coverage. (2565). เตรียมตั้ง คกก. ควบคุมเสรีกัญชา กำหนดขอบเขตอะไรทำได้-ไม่ได้ รองรับหลังปลดล็อคพ้นยาเสพติด 9 มิถุนายน 2565 นี้. เข้าถึงได้จาก https://www. thecoverage.info/news/content/3590

Workpoint News. (2562). บิ๊กตู่ใช้ ม.44 ถอน-ยกคำขอสิทธิบัตรไม่ชอบ เปิดช่องศึกษา-วิจัยกัญชา. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/