การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน

Main Article Content

วัฒนา นนทชิต
สุทธดา เอียดจุ้ย
ณัฏฐาพร นพคุณ
วิมลฉัตร ศรีสุวรรณ
ศุภกานต์ นิลโอภา
สโรชา วิเชียรวงศ์
อัจนา ไทรทองคำ
ธิดารัตน์ วรรณบวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) วิเคราะห์การบริหารกลยุทธ์การท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวกับการขับเคลื่อนกลยุทธ์การท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยใช้วิธีการแบบผสมผสาน โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ซึ่งประกอบด้วยนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนและการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานและหลากหลาย ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก 2) การขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูง โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนเพื่อสร้างความหลากหลายในประสบการณ์การท่องเที่ยว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและกลยุทธ์การขับเคลื่อนมีความสัมพันธ์ตามสมมติฐาน โดยเฉพาะกลยุทธ์การส่งเสริมความหลากหลายทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนบกเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ส่วนกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น การส่งเสริมจังหวัดให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคม การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/497

ชุติมา สามารถ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2559). การจัดการดูแลป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนิคมพัฒนาที่ 1 ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 193-208.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์.

เปรมจิต พรหมสาระเมธี. (2553). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสารคาม.

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2565). ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.suratpao.go.th/planning/files/

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์และพสุ เดชะรินทร์. (2541). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridian E Journal, 7(3), 649-665.

มนัส สุวรรณ. (2538). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2561). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://suratts.mots.go.th/

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

David, F. R., & David, F. R. (2024). Strategic Management: A Competitive Advantage Approach, Concepts and Cases. Pearson.

Dess, G. G., McNamara, G., Eisner, A., & Lee, S.-H. (2024). Strategic Management: Text and Cases. McGraw-Hill Education.

Hill, C. W. L., Schilling, M. A., & Jones, G. R. (2024). Strategic Management: An Integrated Approach. Cengage Learning.

Johnson, G., Scholes, K., & Whittington, R. (2017). Exploring Strategy: Text and Cases. Pearson.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment. Harvard Business Review Press.

Mintzberg, H., Ahlstrand, B., & Lampel, J. (2009). Strategy Safari: A Guided Tour Through The Wilds of Strategic Management. Harvard Business Press.