การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านเเซรไปร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารโรงเรียนบ้านแซรไปร 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนารูปแบบดังกล่าว การวิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู รวม 120 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 14 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านแซรไปรโดยรวมอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือคณะกรรมการบางคนมีภารกิจทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ อีกทั้งบางส่วนยังขาดความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะคณะกรรมการสถานศึกษา 2)พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแซรไปร โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, การพัฒนาผู้บริหารและบุคลากร, การสร้างแหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน รูปแบบการมีส่วนร่วมที่ได้เน้นการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC), เพิ่มช่องทางการติดต่อผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประชุมคณะกรรมการ 4 ครั้งต่อปี 3) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ สถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านเเซรไปร คือ จำนวนโครงการที่มีมากเกินไปทำให้ครูและบุคลากรมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จุฑามาศ พันสวรรค์, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ และชไมมน ศรีสุรักษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 2-17.
แทนพันธุ์ โกสุวินทร์ และกฤษฎิ์ กิตติฐานัส. (2567). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 5(1), 30-43.
ธันยาภัทร์ เทียนธนาทิพย์. (2563). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติภารกิจในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชศรีมา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิติกร วรรณชา. (2562). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอำเภอเสลภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยนครราชสีมา.
เผียน วงศ์ทองดี. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
มนต์ตรี ขันทองคำ. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
รังสิยา แสนทวีสุข และสุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 5(1), 57-70.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ ปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Bouneaw, J. (2007). The Participation in Research for Locally. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Cohen. J.M. & Uphoff. N.T. (1980). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project design. Implementation and Evaluation. New York: the Rural Development Committee. Center for International Studies. Cornell University.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
Keith, D. D. (1972). Human behavior at work human relations and organization behavior. New York: McGraw-Hill.
Worapradit, S. (2010). Community Participation Division of Information Technology Office of the Non- Formal and Informal Education Trat Province. Trat: Office of the Non - Formal and Informal Education Trat Province.