บทบาทของนายอำเภอในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจน และพัฒนาคนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

วิกร สิงห์ทองชัย
เขียน วันทนียตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของนายอำเภอในการขับเคลื่อน การขจัดความยากจนและพัฒนาคนอย่างยั่งยืนด้วยระบบ Thai QM และ (2) เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนอย่างยั่งยืนด้วยระบบ Thai QM จากการศึกษา สามารถสรุป
ได้ว่า ปัญหาหลักของประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย คือ ความยากจน และขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับที่สูงขึ้น กระบวนการแก้ปัญหาในบริบทโลกปัจจุบัน จึงมุ่งไปที่ การขจัดความยากจนและการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรไทย การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน  ตลอดจนภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศอื่นต่อไทยในเวทีระดับระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ได้รับการรับรองวาระในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ พ.ศ. 2558 อีกด้วย ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนอย่างยั่งยืนด้วยระบบ Thai QM ได้แก่ นายอำเภอ  เนื่องจากนายอำเภอเป็นตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่ถูกกำหนดให้รับผิดชอบบริหารและกำกับดูแลข้าราชการในอำเภอ ประกอบกับมีภารกิจในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายและอำนวยความเป็นธรรม บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชน  นายอำเภอจึงมีบทบาทหลัก 2 ประการ คือ บทบาทผู้ชี้เป้าปัญหา และบทบาทผู้แก้ไขปัญหา ส่วนในด้านผลที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนอย่างยั่งยืนด้วยระบบ Thai QM ผ่านบทบาทของนายอำเภอที่ปฏิบัติหน้าที่ในการขับเคลื่อน ผ่าน 5 มิติ คือ 1) มิติสุขภาพ 2)  มิติความเป็นอยู่ 3) มิติการศึกษา 4) มิติรายได้ และ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ ผลการดำเนินการช่วยเหลือครัวเรือนที่เดือดร้อน จำนวน 653,524 ครัวเรือน ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว 629,588 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 96.34) รอติดตามผล 48,523 ครัวเรือน และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 1,045 ครัวเรือน ถือได้ว่า ปัญหาความยากจนลดลง และเกิดการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ อย่างเห็นได้ชัด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติราชการของนายอำเภอ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

_____________-. ( 2 มกราคม 2560). คู่มือสนับสนุนการปฏิบัติราชการของนายอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จาก ttps://multi.dopa.go.th/tspd/tpad/work_manual/read8

กระทรวงมหาดไทย. (1 มีนาคม 2565). รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จาก https://www2.buengkan.go.th/ebook/detail/7

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง . ( 5 มีนาคม 2565). คู่มือการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2567, จาก https//mahasarakham.cdd&oq=https/mahasarakham.cdd&gs_lcrp=EgZjaHJvbWUyBggAEEUYOTIGCAEQRRg60gEKODU1OTFqMGoxN

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2 มีนาคม 2566). แนวทางขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/05/pelcd_TPMAP _presentation.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา . (1 ตุลาคม 2534 ). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จากhttps//www.obtnongpan.&oq=https/www.obtnongpan.&gs _lcrp=EgZjaHJvbWUyBggAEEUY OTIGCAEQRRg60gEKNzcwNDlqMGoxNag

วัชรเดช เกียรติชานน.(2564). การพัฒนาบทบาทของนายอำเภอในทศวรรษหน้า.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (2), 443 - 456.

สมศักดิ์ จังตระกุล. (2554). การจัดการความขัดแย้งโดยนายอำเภอของประชาชนในประเทศไทย. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.