แนวคิดมนุษยนิยมกับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษย์นิยมและสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย ภายใต้นโยบาย กฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติของรัฐบาลไทย ผลการศึกษาพบว่านโยบาย กฎหมายเกี่ยวกับการให้สถานะบุคคลและรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้รัฐไร้สัญชาตินั้น รัฐบาลจะจำแนกสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติเป็นกลุ่ม ๆ และนำสิทธิขั้นพื้นฐานผูกไว้กับสถานะทางกฎหมายของแต่ละคน โดยแต่ละบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพที่ไม่เท่ากัน
จากมุมมองของทฤษฎีมนุษยนิยม เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้รัฐไร้สัญชาตินั้น มนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักภาพ มีความสามารถในการพัฒนาการตนเอง และเชื่อว่ามนุษย์สามารถค้นพบความหมาย คุณค่า และเป้าหมายของชีวิตได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเชื่อในระบอบประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน การมีเสรีภาพ มีความเท่าเทียมกัน
มนุษย์ทุกคนต้องได้รับปฏิบัติในอย่างเท่าเทียมกันในสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะมนุษย์ คือการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างในเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว เพศ รสนิยมทางเพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติกำเนิด ความพิการ สถานะสุขภาพ หรือสถานะอื่น ๆ
ดังนั้นการไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากรัฐยังไม่รับรอง หรือยังไม่ได้พิสูจน์ ไม่อาจเป็นเหตุผลในการจำกัดหรือลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์พึ่งมีพึ่งได้มาตั้งแต่กำเนิดเป็นสิทธิตามธรรมชาติ และที่สำคัญการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นปลักประกันที่มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเอง และค้นพบคุณค่าของมนุษย์ได้ตามหลักมนุษยนิยม รัฐจำเป็นต้องรับรอง คุ้มครอง และส่งเสริมให้คนทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่ผูกไว้กับการมีสัญชาติ หรือมีเงื่อนไขอื่นใด รวมทั้งทุกคนต้องเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยไม่ละเมิดต่อกัน
Article Details
References
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. (15 พฤษภาคม 2561). สิทธิมนุษยชนคืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566,
จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/62/
ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง. (2551). คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลในรัฐไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. พิมพ์
ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
ศรุดา ทิพย์แสง. (29 ตุลาคม 2563). มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566,
จาก https://www.scimath.org/article-science/item/11479-2020-04-21-07-25-03
สิทธิพันธ์ พุทธหุน และคณะ. (2564). มนุษยนิยม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. วารสาร
รามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์. 4 (3), 63-91