การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุขบนพื้นฐานของความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบ้านไร่ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ภัทรชัย อุทาพันธ์
ประชัน ชะชิกุล
วิเชียร แสนมี
ประภาส แก้วเกตุพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนสังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุขบนพื้นฐานของความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยการรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการอย่างมีส่วนร่วม สำหรับกลุ่มให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชาติพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 39 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า บริบทของชุมชนด้านสังคมมีความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายอย่างเหนียวแน่น ด้านการปกครองมีการกระจายอำนาจแบ่งการปกครองเป็นคุ้มชุมชนและมีการตั้งข้อปฏิบัติ กฎกติกาของหมู่บ้านร่วมกัน ด้านวัฒนธรรมมีความเชื่อประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และด้านเศรษฐกิจมีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชนแบบเกษตรผสมผสาน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มและจัดตั้งกลุ่มเพื่อการผลิต การจำหน่าย การระดมทุนภายในชุมชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนปัจจัยที่เกื้อหนุนทำให้เกิดการอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุข บนพื้นฐานของความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่ 1) สภาผู้นำชุมชน 2) กระบวนการความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ 3) กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 4) กฎกติกา/กฎระเบียบชุมชน 5) บทบาทของสถาบันในชุมชน 6) วัฒนธรรมจารีตประเพณีท้องถิ่น และ 7) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 และอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชูพินิจ เกษมณี. (2555). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมพหุลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ภาสกร ดอกจันทร์, รพีพร ธงทอง และสุรพล พรมกุล. (2563). การสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลยตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (1), 87-96.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2564). เข้าถึงได้จาก https://district.cdd.go.th/pangmapha/about-us/contact-us/

สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2563). การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อสร้างโอกาสสมานฉันท์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (2), 57-68.

สุริยันต์ สุวรรณราช. (2551). ปัจจัยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีของไทยพุทธมุสลิมในจังหวัดสตูล. (รายงานวิจัย) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช:นครศรีธรรมราช.

สุไรยา วานิ และมะรอนิง สาแลมิง. (2557). การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.