พลเมืองไทยกับประชาธิปไตยไซเบอร์

Main Article Content

สุเมธ สรรเพชร
อชิตพล ตากันทะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นบทความวิจัยที่อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำว่า พลเมืองไทยและคำว่าประชาธิปไตยไซเบอร์ โดยวิธีการศึกษาบทความและค้นหาความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ด้วยว่าในปัจจุบันพื้นที่ที่ผู้คนใช้ในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรวมตัวนั้นได้มีมากขึ้น จากที่ในอดีตมีเพียงแค่รูปแบบการความสัมพันธ์ในพื้นที่ ครอบครัว ชุมชน ประเทศ แต่ในปัจจุบันผู้คนได้เข้าถึงกันด้วยการใช้เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง และสร้างชุมชนเสมือนขึ้นมาในการพูดคุยแลกเปลี่ยนรวมถึงการวิพากษ์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น อีกทั้งการอยู่ร่วมกันในชุมนุมเสมือนนั้นจะเป็นการรวมตัวของผู้คนที่มีความคิดไปในทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ ประเด็นสำคัญที่ใช้ในการศึกษาคือประเด็นของพลเมืองไทยกับประชาธิปไตยไซเบอร์ ที่จะพูดถึงความสัมพันธ์ของพลเมืองและการแสดงออกความคิดเห็นต่อรัสถาบันทางการเมืองด้วย บทความนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าประชาธิปไตยไซเบอร์ เป็นปรากฏการณ์ของการประชาธิปไตยที่ปรากฏขึ้นในพื้นที่ที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ และเป็นพื้นที่สาธารณะใหม่ที่สำคัญในการแสดงออกทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผลการศึกษาและข้อถกเถียงเรื่องการเมืองในอินเทอร์เน็ต แต่การกระทำทุกอย่างของพลเมืองไทยเกี่ยวกับประชาธิปไตยไซเบอร์นั้น จะอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายที่ถูกบังคับใช้ร่วมกัน และรัฐบาลมีการใช้อำนาจทางกฎหมายในการดำเนินการปิดกั้นและมีคำสั่งปิดเพจเฟซบุ๊กหลายเพจ ที่มีการสร้างชุมชนเสมือนหรือเสนอข่าวสาร ที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลแต่ยังมีอีกหลายเพจเฟซบุ๊ก ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่เป็นการสนับสนุนรัฐบาลแต่ไม่ได้รับการตรวจสอบ จึงเป็นที่มาของการศึกษาคำว่าประชาธิปไตยไซเบอร์ในบทความนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2552). เทคโนโลยีกับการต่อสู้ทางการเมืองโดยไร้ความรุนแรง: ศึกษากรณีอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์).สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไทยรัฐออนไลน์,( 19 ตุลาคม 2563 ). “เยาวชนปลดแอก” แจ้งเปิดเพจสำรองประณามรัฐพยายามมคุกคาม-ปิดกั้นสื่อ. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2563 , จากhttps://www.thairath.co.th/news/politic/1956534

นิวัติ เนียมพลอย. (2556). ไซเบอร์กับการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติการ. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563 , จากhttps://nniwat.wordpress.com/2013/11/08.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล.(2559).การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง,พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2561). ประชาธิปไตยไซเบอร์: ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์,( 14 พฤษภาคม 2562 ).ความเป็นพลเมือง , สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563, สืบค้นจากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_1491921

ยุทธพร อิสรชัย. (2544). อินเตอร์เน็ตกับการเมืองไทย (วิทยานิพนธ์).สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัชนีกร ทองทิพย์. (2548). การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างพันธมิตรของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ (วิทยานิพนธ์).คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สยามรัฐออนไลน์,( 23 มกราคม 2561 ).ความเป็นพลเมือง , สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563 , สืบค้นจากhttps://siamrath.co.th/n/29845

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2562, จาก http://webstats.nbtc.go.th/netnbtc/INTERNETUSERS.php.

สาวตรี สุขศรี. (2555). ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น.กรุงเทพฯ: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(iLaw) ในมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม.

สุธาสินี พลอยขาว. (2551). วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์).คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุวิชาภา อ่อนพึ่ง. (2554). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550: ศึกษาความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอันกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (วิทยานิพนธ์).คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Barth, Thorsten D., and Schlegelmilch, Willi. (2014). Cyber democracy:The future of democracy?. In Elias G. Carayannis, David F. J. Campbell, and Marios Panagiotis Efthymiopoulos (Eds.),Cyber-development, cyber-democracy and cyber-defense: Challenges, opportunities and implications for theory, policyandpractice(pp.195-206). New York: Springer.

Bimber, Bruce. (1998). The internet and political mobilization: Research note on the 1996 election season. Social Science Computer Review, 16, pp. 394-404.

Campbell, David F.J., andCarayannis, Elias G. (2014). Explaining and comparing quality of democracyin quadruple helix structures:The quality of democracy in the United States and in Australia, challenges and opportunities for development. In Elias G. Carayannis, David F. J. Campbell, and Marios PanagiotisEfthymiopoulos(Eds.), Cyber-development, cyber-democracy and cyber-defense: Challenges, opportunities and implications for theory, policy and practice(pp.117-146). New York: Springer.

BBCNEWS(ไทย),( สิงหาคม ). เฟซบุ๊กเตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับรัฐบาลไทยลังบังคับบล็อกการเข้าถึงกลุ่มปิดที่พูดคุยเกี่ยวกับราชวงศ์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563 , จากhttps://www.bbc.com/thai/thailand-53900663