การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีการศึกษา 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีการศึกษา 2563 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีการศึกษา 2563 ตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 6 คณะ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-20 ปีเรียน คณะวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และหัวหน้าครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย นักศึกษามีการกล่อมเกลาทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง แต่ได้รับการกล่อมเกลาจากสถาบันการศึกษาอยู่ในระดับต่ำและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยต่างๆ กับระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาพบว่า ตัวแปรด้านอายุ อาชีพของหัวหน้าครอบครัว และการกล่อมเกลาทางการเมืองมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน ส่วนเพศคณะที่ศึกษาและระดับการศึกษาไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรารัตน์ นภาดล. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยทองสุข. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐธิดา ภักตรนิกร. (2550). ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมืองของพนักงานบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน). (การศึกษาค้นคว้าอิสระ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สันติ ขวัญคง. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีปทุม (วิทยาเขตชลบุรี). (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัญชุลี วงษ์บุญงาม, และดารณี ธัญญาสิริ. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการและวัย มทร.พระนคร, 6 (2),99-112
Key, V.O. (1961). Politics Parties and Presure Groups. New York: Growell.
Klapper, J.T. (1960). The Effect of Mass Communication. New York: The Free Press.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.