ความไม่มั่นคงทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมืองหากจะรักษาความเสถียรภาพทางการเมืองได้ ต้องอาศัยพรรคการเมืองในการบริหารจัดการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองกระทาผิดกฎหมายหรือกระทำการอันใดที่เสี่ยงต่อการถูกยุบพรรค ตลอดจนกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองไทย นอกจากนี้พรรคการเมืองยังมีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้รัฐบาลและระบบการเมือง มีเสถียรภาพมีบทบาทในการรักษาระบบรัฐสภาให้มีความมั่นคง รวมทั้งมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเพื่อให้การเมืองในระบบรัฐสภาสามารถดำรงอยู่ได้“ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทย” มุ่งตอบคำถามถึง ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทยช่วงระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมา ว่ามีลักษณะอย่างไรและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยคืออะไร ซึ่งได้อาศัยแนวคิดเรื่องวงจรอุบาทว์มาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ผลของการวิเคราะห์พบว่า ตลอดระยะเวลา 8 ทศวรรษที่ผ่านมาของไทยนั้นได้ เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมาโดยตลอดกล่าวคือ ผ่านการปฏิวัติการรัฐประหารและการกบฏ ซึ่งทุกครั้งล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันรัฐสภาไทย เพราะการจัดการปัญหาด้วยเครื่องมือทางการทหารได้ ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองกล่าวคือมีการล้มรัฐธรรมนูญและรัฐสภาไปพร้อมๆ กันและแม้จะเกิดวงจรอุบาทว์ใหม่ก็ตาม ก็จะเห็นว่าเสถียรภาพของรัฐสภา ก็ขาดความมั่นคงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุนที่เข้ามาใช้รัฐสภาเป็นทางผ่าน เพื่อนำไปสู่การแปลงธุรกิจทุจริตให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับการใช้อำนาจรัฐ ที่ถือครองอยู่การพัฒนารัฐสภาไทยให้มีสถานภาพความเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง จึงต้องเริ่มจากประชาชนในฐานะพลเมืองที่พร้อมจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งในทางตรงและทางออม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2526). บทบาทของรัฐสภาต่อความมั่นคงทางการเมือง” รัฐสภาสาร, 31(6) 16-27.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2549). การเมืองการปกครองไทย จากยุคสุโขไทยสู่สมัยทักษิณ. (พิมพ์ครั้งที่ 5), ปทุมธานี บ. มายด์ พับลิชชิ่ง
จิราภรณ์ ดำจันทร์. (2562). ประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. จำนวน 336 หน้า.
ไชยันต์ ไชยพร. (2554). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือถกเถียงกันก่อนการตัดสินใจ เพื่อหาฉันทานุมัติหรือใกล้เคียง.เอกสารคำสอนวิชาประชาธิปไตยเปรียบเทียบ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
วิชัย ตันศิริ. (2550). วิกฤติการเมือง 2549-2550. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. การรัฐประหารในประเทศไทย
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2544). คู่มือการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: เอช.เอ็น. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สัญชัย บุญฑริกสวัสดิ์. (2524). ทหารปฏิวัติทำไม กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
Europe Regional Ministerial Conference on “Effective Democratic Government at Local and Regional Level. Online: http://www.stabilitypact.org/wt1/041025-polenv.pdf.