เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ภายใต้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ภายใต้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) การวิเคราะห์การบริหารงานผ่านเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด 3) การเสนอแนวทางสร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดการวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร 7 คน และผู้นำชุมชน 8 คน เก็บข้อมูลผ่านสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดจำนวน 138 คน ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย 1) สถานการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ภายใต้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ พบว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก แม้ว่าความต้องการสินค้าจะสูงขึ้น กลุ่มจึงเริ่มแสวงหาความร่วมมือขยายโอกาสในการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น 2) การบริหารงานผ่านเครือข่ายของกลุ่ม พบว่าโดยรวมการบริหารงานของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการบุคคลมีคะแนนสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการติดตามผล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงาน และด้านการวางแผน ตามลำดับ 3) แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดควรสร้างความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ผ่านกระบวนการความร่วมมือ โดยเน้นการส่งเสริมและสนับสนุน เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การจัดการบุคคล การวางแผน งบประมาณ และการติดตามผล เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเครือข่ายอย่างยั่งยืน ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ และความเชื่อมั่นของสมาชิกในกลุ่ม นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและการแก้ไขปัญหาของตนเอง เกิดการยอมรับในคุณค่าและความสามารถในการดำเนินงานของกลุ่ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฉัฐสิณี หาญกิตติชัย และชาตรี บุญนาค. (2563). การพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องและองค์กรเกษตรกรต้นแบบ. วารสารเกษตร มสธ, 2(1), 97-108.
ชาญสิทธิ์ คำเทศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 7(1), 32–34.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปัณณิกา งามเจริญ. (2567). ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 473-484.
พงษ์ศักดิ์ ปัญจพรผล. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ไมตรี นันต๊ะจันทร์ และคณะ. (2556). โครงการวิจัยนวัตกรรมองค์กรกับการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน. (รายงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วรสิทธิ์ เจริญศิลป์ และธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2561). พัฒนาการและเงื่อนไขของการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายชุมชนตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(4), 22-40.
วสันต์ เหลืองประภัสสร์ และคณะ. (2557). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารจัดการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภวานี เผือกบัวขาว, ช่วงชัย ชุปวา, สาโรช เผือกบัวขาว, บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย และพนิต ศรีประดิษฐ์. (2567). รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 151-163.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหารหลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
ศิริวรรณ ขวัญมุข และอนุชา กอนพ่วง. (2562). รูปแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 15-16.
สมคิด บางโม. (2545). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567. เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). รายงานสถานการณ์กาค้า สินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียนหลังจากการเปิดเสรีเขตการค้าอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2567. เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files202.3.4.pdf.
สิทธิชัย ธรรมขัน, สมคิด แก้วทิพย์, เฉลิมชัย ปัญญาดี และปรารถนา ยศสุข. (2566). การเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรชุมชนของสภาชุมชุน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 23(1), 22-23.
สุริยา บุตรพันธ์, อภิชาติ ใจอารีย์ และสันติ ศรีสวนแตง. (2566). สถานการณ์แนวทางดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคมธุรกิจสร้างประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของชุมชนในต่างประเทศและบริบทประเทศไทย. วารสารการเมืองและการปกครอง, 13(2), 159-162.
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน:กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Fayol, H. (1964). General Industrial Management. London: Pitman.
Gulick, L. and Urwick. L. (1937). The Science of Administration. New York: Columbia University.
Taylor Frederick W. (1998). The Principle of Scientific Management. Norcross GA.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.