การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

Main Article Content

วันดี ขันแก้ว
สายัณห์ อินนันใจ
สมจิต ขอนวงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และเสนอแนวทางแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำแนกเป็น 1) การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง (R= .678**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. แนวทางแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม พบว่า การเข้าถึงประชาชนที่กล้าแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากพื้นที่ต้องมีการประกอบอาชีพในการดำเนินชีวิต ทำให้ประชาชนเหล่านั้นไม่ได้อาศัยประจำหรือไม่มีเวลามากพอในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการจัดกิจกรรมหรือจัดพื้นที่สำหรับประชาชนในการแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ตามโอกาสที่เหมาะสมต่าง ๆ เพื่อจะได้รวบรวมข้อคิดเห็น และนำมาเป็นฐานข้อมูลในการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระคมกริช จนฺทสุทฺโธ (สุขพัตร), พระครูศรีปริยัติยารักษ์ และวงษ์อมรวิทย์ ชุติพนธ์. (2566). ภาวะผู้นำทางการเมืองของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 42-53.

พระนุกูล อธิวโร (บุญไทย). (2565). ภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปัญญา โชติธมฺโม (แก้วหาวงค์). (2561). ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอาคม อตฺถเมธี และพระมหาจักรพล สิริธโร. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอภิรัตน์ ฐิตวิริโย (ดาประโคน). (2561). การศึกษารูปแบบการงานพัฒนาชุมชนในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง: การศึกษาพื้นที่ชุมชนเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสิยา แสนทวีสุข และสุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 5(1), 57-70.

วิราช ธันยพัฒน์กุล. (2565). บทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. Journal of Lanna Societies, 1(4), 30-39.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม และอุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรกิจ สุวรรณแกม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรกิจ สุวรรณแกม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). ระยอง: องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม.

อรรถกรณ์ จิณะโสต. (2565). บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill.

World Economic Forum. (2020). Shaping the Future of the New Economy and Society. 24 January 2023. Retrieved from https://www.weforum.org/platforms/shaping-the-future-of-the-neweconomy-and-society